วิเคราะห์รูปิยะในปาจิตตียภัณฑ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปิยะในปาจิตตียภัณฑ์ พบว่า รูปิยะ คือ เงินทองของมีค่านั้นเป็นสิ่งของที่ก่อให้เกิดความโลภและนำไปสู่ความมัวเมาของผู้ที่ครอบครอง สิ่งที่ทำให้พอใจ น่าใคร่ น่าปรารถนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รูปพรรณ ได้แก่ เครื่องประดับ และไม่เป็นรูปพรรณ ได้แก่ เงิน ทองคำ เพชร เป็นต้น มี 3 อย่างได้แก่ ประโยชน์ในการดำรงชีพ ประโยชน์ในการปกครอง ประโยชน์ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โทษของรูปิยะ คือ หากบรรพชิพและคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนครอบครองโดยไม่คำนึงถึงโทษก็จะก็ให้เกิดความโลภและนำไปสู่ความเสื่อมได้
รูปิยะในปาจิตตียภัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภิกษุได้ทำการแลกเปลี่ยนรูปิยะ แล้วพระพุทธเจ้าได้ทรงตำหนิติเตียน และปรับอาบัติ รูปิยะ คือ วัตถุที่มีค่า เช่น เป็นทอง มาสก กหาปณะ ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้ เป็นสิ่งที่นำความเสื่อมมาสู่ภิกษุ หากภิกษุรูปใดได้ครอบครองแล้วควรที่จะสละออกเสีย แบ่งเป็น 2 คือ รูปิยะที่เป็นรูปพรรณ รูปิยะที่ไม่เป็นรูปพรรณ ความสำคัญของรูปิยะในปาจิตย์ภัณฑ์นั้นทำให้เห็นโทษของรูปิยะว่าเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความเสื่อม พระสงฆ์กับรูปิยะนั้นควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและไม่ให้เกิดการตำหนิติเตียนของประชาชน ซึ่งสังคมปัจจุบันนั้นเป็นสังคมที่ต่างจากสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระธรรมวินัยไว้ตามเหตุการณ์และเป็นไปเพื่อความดีงามแห่งสงฆ์ตลอดทั้งเป็นไปเพื่อสัจจะธรรม ดังนั้นการรักษาพระธรรมวินัยก็เป็นสิ่งสำคัญของพระสงฆ์เช่นกัน พระสงฆ์จะต้องใช้พิจารณาในการประพฤติปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดความเสื่อมแห่งศรัทธาแห่งพุทธศาสนิกชนด้วยเช่นกัน
Article Details
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สินีนาฏ สุภรณ์ไพบูลย์. (2546). เศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Szulczyk, Kenneth R.. (2013). Money, Banking and International Finance. 2nd ed. Edition. Create Space Independent Publishing Platform.