ความสุขในมรรค 8

Main Article Content

ทรงวิทย์ ปลัดศรีช่วย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามรรค 8 พบว่า มรรค คือ แนวทางในการปฏิบัติหรือแนวทางการดำเนินชีวิตอันจะนำไปสู่ทางแห่งความดับทุกข์ มรรคมีองค์ 8 สงเคราะห์เป็นไตรสิขาประกอบด้วยศีล สมาธิและปัญญา ได้แก่ หมวดปัญญา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ หมวดศีล ได้แก่ สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ หมวดสมาธิ ได้แก่ สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ หลักปฏิบัติตามมรรค 8 เป็นหลักการดำเนินชีวิตตามหลักทางสายกลางและจุดมุ่งหมายเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน


ความสุขในมรรค 8 พบว่า มรรค 8 เป็นความสุขภายนอก (โลกียสุข) และความสุขที่เกิดจากภายใน (โลกุตรสุข) ที่นำไปสู่ประโยชน์สุข 3 ขั้น คือ 1) ประโยชน์ปัจจุบัน ได้แก่ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ หรือทรัพย์สิน ฐานะ เกียรติ ไมตรี ชีวิตคู่ครองที่เป็นสุข 2) ประโยชน์ภายหน้า คุณค่าแก่คุณธรรมความดีงาม ความเจริญงอกงามของจิตใจ 3) ประโยชน์สูงสุด การประจักษ์แจ้งความสุขภายในที่สะอาดบริสุทธิ์ เรียกว่า วิมุตติและนิพพาน และระบบการปฏิบัติของมรรคถูกจัดขั้นตอนออกมาในรูปของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นทั้งโลกียะและโลกุตตระ หรือศีลธรรม เป็นเครื่องชำระจิตในเบื้องต้น เกิดการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ปัญญาและสมาธิ เป็นการพัฒนาจิตในระดับสูงเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายแท้จริง คือ นิพพาน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กีรติ บุญเจือ ปรัชญาเบื้องต้น. (2512). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด.

เชิด เลิศจิตรเลขา. (2548). จริยศาสตร์พื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ดอนบอสโท.

นววรรณ พันธเมธา. คู่มือการใช้ภาษาไทยแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด มหาชน, 2547.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2541). มรรค ผล นิพพาน. กรุงเทพมหานคร: กังหัน.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2533). คู่มือมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์: ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). คำสอนเป็นกลาง ปฏิบัติสายกลาง. ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: กองทุนวุฒิธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ : ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2536). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฏก ป.อ. ปยุตฺโต. (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์: ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). ความสุขทุกแง่ทุกมุม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเชียร สุธีโร. (2562). ความสุขในทัศนะของพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม. 4)1), 42-47.

พระอุทัย จิรธมฺโม เอกสะพัง. (2534). ทัศนะเรื่องกรรมในพุทธศาสนาเถรวาทและปัญหาเรื่องกรรมในสังคมชาวพุทธไทยในปัจจุบัน . วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

ศักดิ์สิทธิ์ พันธุ์สัตย์ และคณะ. (2537). บูรณาการแผนใหม่นักธรรมชั้นโทรวมทุกวิชา. กรุงเทพมหานคร: บ้านหนังสือโกสินทร์.

สถิต วงศ์สวรรค์. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: รวมสาส์น.