การอุปมาด้วยไฟ (อัคคิ) ในอัคคิขันโธปมสูตร

Main Article Content

พระครูสิริปัญญาภรณ์ ตันโห

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การอุปมาด้วยไฟ (อัคคิ) ในอัคคิขันโธปมสูตร พบว่า ไฟ (อัคคิ) ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา มี 4 ประเภท ใหญ่ คือ 1) ไฟคือราคะ มีกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นเชื้อ 2) ไฟคือโลภะมีความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุดเป็นเชื้อ 3) ไฟคือโทสะมีมานะความถือตัว เป็นเชื้อ 4) ไฟคือโมหะมีอวิชชา ความไม่รู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัส ออกเป็น 2 สาย คือ ราคะกับโลภะ ราคะตามปกติแล้วจะทรงสอนบรรพชิต โลภะจะสอนฆราวาส และโทสะ โมหะ ทั้งสองนี้ จะสอนทั้งบรรพชิตทั้งฆราวาส


การอุปมาด้วยเรื่องไฟ (อัคคิ) ในอัคคิขันโธปมสูตร สามารถอุปมาได้ว่ามนุษย์ไม่รู้เท่าทัน ไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำให้เดือดร้อนอยู่นั้นคือไฟ เผลอเติมเชื้อแบบไม่รู้ตัว พอไฟมีเชื้อก็ทำให้ไฟแผดเผาจิตใจมนุษย์ทำให้เดือดร้อนทั้งตนเอง แล้วยังแสดงออกทางกาย ทางวาจา ทำให้สังคมรอบข้างพลอยลำบากไปด้วย ไฟในทางพระพุทธศาสนาซึ่งส่วนใหญ่เป็นนามธรรม ที่พระพุทธองค์ ทรงใช้อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบไฟว่าความไม่อิ่มด้วยเชื้อ เมื่อมีเชื้อไฟอยู่ เช่นฟืน น้ำมัน ตราบใดตราบนั้นไฟก็ย่อมไม่มีวันดับ เมื่อไม่มีเชื้อไฟก็ดับ เมื่อเรารู้เท่าทันเช่นนี้แล้วก็หาทางดับเชื้อไฟคือกิเลสที่อยู่ในใจของมนุษย์ให้ได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). บุญ-บารมีที่จะกู้แผ่นดินไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2535). ธรรมปริทรรศน์ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2548). แก่นพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.