ศึกษาวิเคราะห์การสวดโพชฌงค์ 7 ในฐานะเป็นธรรมโอสถ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องโพชฌงค์ 7 ในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อวิเคราะห์การสวดโพชฌงค์ 7 ในฐานะเป็นธรรมโอสถในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นวิจัยเอกสาร ขอบเขตด้านเอกสาร ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ โพชฌงคสูตร รวบรวมข้อมูลจากโพชฌงคสูตร และเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์เนื้อหาด้วยอุปนัยวิธี รายงาน/นำเสนอโดยวิธีพรรณนาความ
ผลการศึกษา พบว่า โพชฌงค์ 7 เป็นธรรมเพื่อการตรัสรู้ 7 ประการ ได้แก่ 1) สติ 2) ธัมมวิจยะ 3) วิริยะ 4) ปีติ 5) ปัสสัทธิ 6) สมาธิ 7) อุเบกขา
บทสวดโพชฌงค์ 7 พระสงฆ์นิยมสวดในงานทำบุญคล้ายวันเกิด หรือสวดเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วย บทสวดมีอานุภาพช่วยปกป้อง คุ้มครองผู้ฟังหรือผู้สวดจากความชั่วร้าย เกิดเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ในแง่ของการปฏิบัติ เมื่อบุคคลปฏิบัติตามหลักธรรมโพชฌงค์เพียงองค์ธรรมใดองค์ธรรมหนึ่ง จะมีผลทำให้จิตใจเบิกบานและเป็นสุข ผลที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนที่ฟังโพชฌงค์ 7 ได้แก่ 1) ความศักดิสิทธิ์ของพระปริตร 2) ผลด้านจิตวิทยา คือผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าได้อยู่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา รวมถึงมีความเชื่อมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของพระปริตร 3) ปัญญา เมื่อได้พิจารณาพระปริตรที่พระสงฆ์สวด จะทำให้มีปัญญารู้เท่าทันสังขารที่รุมเร้าให้เกิดความทุกข์นั้นแล้วจะสามารถบรรเทาทุกขเวทนาได้ ส่วนพระอริยะท่านเกิดภาวะกายสงบ ปราศจากความกระสับกระส่าย (ปัสสัทธิ) เพราะได้ฟังเสียงสวดและพิจารณาตาม
Article Details
References
ธ.ธรรมรักษ์. (2561). บทสวดโพชฌงคปริตร การสวดมนต์ขจัดโรคร้าย. เรียกใช้เมื่อ 17 ธันวาคม 2562. จาก www.sanook.com
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2531). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2560). อานุภาพพระปริตร. กรุงเทพมหานคร: มปพ..
พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี และคณะ. (2548). ศึกษาปรากฏการณ์วิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐานสี่ในปัจจุบัน. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศศิธร เขมาภิรัตน. (2548). การศึกษาเปรียบเทียบพุทธวิธีในการดูแลสุขภาพแบบองครวมกับการแพทย์แผนไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภาพรรณ กลิ่นนาค. (2561). การสร้างสุขภาวะตามแนวโพชฌงค์ในพระพุทธศาสนา. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 9(2), 99-110.
สุภีร์ ทุมทอง. (2560). โพชฌงค์ 7 ตอนที่ 2. เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2563. จาก http://www.ajsupee.com
Nathivich Woraphokinthanachok. (2560). เสียงสวดมนต์รักษาโรคชะงัก. เรียกใช้เมื่อ เรียกใช้เมื่อ 8 มกราคม 2563 จาก https://www.sites.google.com/site/nathivich/bthkhwam-khaw-na-snci/seiyngswdmntraksarokhchangak.