การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระเชิดพงษ์ ยตินฺธโร (บุตรดา)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแสนชาติ จำนวน 355 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์


ผลการวิจัย พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ผลการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตามหลักอิทธิบาท 4 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ ด้านวิมังสา


ผลการทดสอบสมมติฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา โดยภาพรวมแตกต่างกัน ประชาชนที่มีเพศต่างกัน การมีส่วนร่วมแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน การมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล วิเลิศศักดิ์. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององศ์การบริหารส่วนตำบลสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนพัฒนาสามปีและแผนดำเนินงาน. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.

ธนิต สุวรรณเมนะ. (2548). คู่มือสอบฉบับพิเศษปลัดอำเภอ. กรุงเทพมหานคร: ตำราทอง.

พระครูสถาพรพัชรากร (พร้อม ฐานกโร). (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลตงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีระพงค์ สุเมโธ (แซ่เล้า). (2555). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเวียงเป้า จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิษณุ วิสารโท (พานนนท์). (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารตามหลักปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุวิทย์ สิริวฑฺโน (พรหมเกิด). (2553). การบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

ภูดิส ยศชัย. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ในการช่วยเหลือกิจการตำรวจของสถานีตำรวจภูธรเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิสิทธิ์ โรจน์พจนรัตน์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560.กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา จำกัด.

ศิรินรักษ์ สังสหชาติ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึกกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลตำบลแสนชาติ อำเภอจัง จังหวัดร้อยเอ็ด. (มปป). ฐานข้อมูลประชากร. เรียกใช้เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2666 จาก https://sanchart.go.th/public/list/data/index/menu/1142.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row.