รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำดิจิทัล 2) ตรวจสอบความสอดคล้องรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 360 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(Confirmatory Factor Analysis) การวิเคราะห์ Structural Equation Model :SEM
ผลการวิจัย พบว่า
1) องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ภาวะผู้นำดิจิทัล วิสัยทัศน์ดิจิทัล สมรรถนะทางดิจิทัลและการบูรณาการทางดิจิทัล
2) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก 2 เท่ากับ 43.548, df เท่ากับ 45, P-Value เท่ากับ 0.543, RMSEA เท่ากับ .0.00, GFI เท่ากับ 0.983 AGFI เท่ากับ 0.959,
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2563). ประกาศนโยบายและความสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กมลวรรณ ตังธนกานนท์, (2558).ระเบียบวิธีสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
จิตรกร จันทร์สุข. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทาง การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2), 36-49.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2558). การวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงที่เหมาะสมกับการวิจัยทางจิตวิทยาและพฤติกรรมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทวัส นิดสูงเนิน และคณะ. (2565) การพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล โรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(4), 1638-1658.
สุนทรพจน์ ดำรงพานิช. (2555). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และ สังคมศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2562). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). เรียกใช้
เมื่อ 2 กันยายน 2566. จาก http://www.pracharathschool.go.th/skill/detail/ 52232.
อินท์ฉัตร สุขเกษม, (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรค กระทรวงสารธารณสุข. นครราชสีมา : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 19.
Anderson, R. E., & Dexter, S. L. (2005). School technology leadership: An empirical investigation of prevalence and effect. Educational Administration Quarterly. 41(1), 49-82.
Dexter, S. (2011). School technology leadership: Artifacts in systems of practice. Journal of School Leadership. 21(2), 166-189.
Fullan, M. (2007). The new meaning of educational change. New York, NY and London, UK: Teachers College Press.
Hair, J.F., Anderson, R.E. & Tatham, R.L. & Black, W. C. (1998). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Prentice-Hall.
Kane, G. C., Palmer, D., Phillips, A. N., Kiron, D., & Buckley, N. (2015). Strategy, not technology,
drives digital transformation. MIT Sloan Management Review. 14(1), 1-25.
Leithwood, K., Harris, A., & Hopkins, D. (2008). Seven strong claims about successful school leadership. School Leadership & Management. 28(1), 27-42.
Westerman, G., Bonnet, D., & McAfee, A. (2014). Leading Digital: Turning Technology into Business Transformation. Harvard Business Review Press.