ศึกษาวิเคราะห์เรื่องกรรมในมหากัมมวิภังคสูตร

Main Article Content

พระมหาพิชิต สุจิตฺโต
พระครูปริยัติสาทร

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 อย่าง คือ 1) เพื่อศึกษาหลักกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท  2) เพื่อศึกษากระบวนการของกรรมในมหากัมมวิภังคสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์เรื่องกรรมในมหากัมมวิภังคสูตร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการค้นคว้าจากเอกสาร (Documentary Research)


         ผลการวิจัยพบว่า: หลักกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทมี 4 หมวดๆ ละ 4 ข้อ รวมแล้วมี 16 ข้อ หลักกรรม 16 เหล่านี้ย่อลงแล้วมี 4 ประการ คือ 1) กรรมดำมีวิบากดำ  2) กรรมขาวมีวิบากขาว  3) กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว  4) กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว กระบวนการของกรรมในมหากัมมวิภังคสูตรมีเจตนาเป็นปัจจัย มีต้นเหตุคือกุศลมูลและอกุศลมูล ผ่านการกระทำทางกาย วาจา ใจ กระบวนการในการเสวยวิบากจะเกี่ยวกับเวทนา 3 อย่างได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนา กรรมมีวิบากที่ซับซ้อนคือกรรมที่มีการแทรกแซงการให้ผล ได้แก่ กรรมที่สมควรแสดงให้เห็นว่าสมควรก็มี กรรมที่สมควรแสดงให้เห็นว่าไม่สมควรก็มี กรรมที่ไม่สมควรแสดงให้เห็นว่าไม่สมควรก็มี กรรมที่ไม่สมควรแสดงให้เห็นว่าสมควรก็มี ความจริงแล้วกระบวนการของกรรมมีความเป็นเหตุเป็นผลที่ตรงกันเสมอ คำกล่าวที่ว่าทำชั่วได้ดี ทำดีได้ชั่วนั้นจึงไม่มี เพราะวิบากย่อมให้ผลตรงกับกรรมเสมอ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2552). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราช

วิทยาลัย.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร), แปล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส จำกัด.

พระอนุรุทธาจารย์. (2555). อภิธัมมัตถสังคหะและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา บาลี-ไทย. มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, แปล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.

พุทธทาสภิกขุ. (2516). อิทัปปัจจยตา. กรุงเทพ,sko8i: ห้างหุ้นส่วนจำกัด การพิมพ์พระนคร.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2554). หลักธรรมสำคัญของ

พระพุทธศาสนา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

กรฤทธ์ ปัญจสุนทร, (2561). การแก้กรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เทวินทร์ เหล็งศักดิ์ดา, (2561). ศึกษาวิเคราะห์กรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา. คณะบัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ คุ้มครอง และพระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท. (2562). พินิจเรื่องกรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดอุทัย รตนปัญโญ. (2564). กรรมในพระพุทธศาสนา. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 10(1), 163-176.

พระปราบศึก อุทโย และประภา งานไพโรจน์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมกับการเกิดใหม่ในคัมภีร์ พระพุทธศาสนา. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์. 4(1), 75-87.