แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ชึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 และ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู ครู กศน.ตำบล จำนวน 9 คน จากการศึกษาสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติดีเยี่ยม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึ่งประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์สู่การเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม ด้านการบริหารความเสี่ยง และด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สรุปแนวทางการพัฒนาที่สำคัญได้ 20 แนวทาง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ. เรียกใช้เมื่อ 12 มีนาคม 2567 จาก www.moe.go.th. สํานักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา.
คณิน คำแพง. (2563). โมเดลภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น: โมเดลแข่งขันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและภาวะผู้นำแบบดิจิทัล. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผูนำเชิงนวัตกรรมของผูบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ญาสุมินทร์ คุณบุราณ และคณะ. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 53 เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ณิชาภา สุนทรไชย. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นภาพร ศรีสุคันธพฤษ์และจอมพงศ์ มงคลวนิช. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสยาม.
บริพัตร สารผล. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประภัสสร ฤทธิรณ. (2565). การออกแบบโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ (2566). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 (ตอนที่ 20 ก) , หน้า 60-72.
วรเชษฐ์ วรสุทธิพงษ์.(2565). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์:มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ศรสวรรค์ บุญณกรณ์ชัย. (2561). ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนทวีธาภิเศก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาตร์: มหาวิทยาลัยเกริก.
สินีนาฎ ใสแจ่ม พร้อมคณะ. (2563). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผุ้นำเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 22(1), 79-92.
สุธิดา สอนสืบ. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพรรษา แก้วสีหมอก. (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตนวลจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. (7)8, 419-433.
สุวิมล ว่องวานิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดขอนแก่น. (2566). รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment -Report : SAR) ปี 2566.