พัฒนากระบวนการจัดการสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ
ภานุวัฒน์ สิงห์คำป้อง

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากลไกชุมชนรองรับสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองมหาสารคาม 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 43 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและคําสัมภาษณ์ แล้วนําเสนอโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


             ผลการวิจัย พบว่า


             การดำเนินงานพัฒนากลไกชุมชนรองรับสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองมหาสารคาม มี 7 ส่วน ประกอบด้วย การพัฒนากลไกทางวัฒนธรรมชุมชน กลไกทางศาสนา กลไกข้อตกลงร่วมกันของชุมชน กลไกโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยเอื้อภายในชุมชน กลไกด้านต้นทุนชุมชน กลไกด้านสวัสดิการพื้นฐานในชุมชน รวมทั้งกลไกด้านบทบาทและสถานภาพของชุมชน


          การพัฒนากระบวนการจัดการสังคมผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมของชุมชนฐานรากในอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการต้นทุนทางทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม 2 ส่วน คือ 1) การเตรียมความพร้อมเสริมสร้างรากฐานชุมชนรองรับสังคมผู้สูงอายุ 6 ด้าน ได้แก่ การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ การเตรียมความพร้อมด้านสังคม การเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจ การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ และการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี และ 2) พัฒนากระบวนการจัดการชุมชนรองรับสังคมผู้สูงอายุ 4 ส่วน ได้แก่ การจัดการปัจจัยเสี่ยงที่มีต่อผู้สูงอายุ การจัดการปัจจัยเอื้อที่มีต่อผู้สูงอายุ การจัดการองค์กรภายในชุมชนรองรับสังคมสูงอายุ และการเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจัดการสังคมผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335.

กรมสุขภาพจิต.(2566). วันผู้สูงอายุสากล. เรียกใช้เมื่อ 23 ธันวาคม 2566. จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31134.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA). (2563). สูงวัยในศตวรรษที่ 21 : การเฉลิมฉลองและความท้าทาย. กรุงเทพมหานคร : กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund: UNFPA) และองค์การเฮล์พเอจ อินเตอร์เนชั่นแนล (HelpAge International).

ชวลิต สวัสดิ์ผล และคณะ. (2559). การดูแลและพัฒนาผู้สูงอายุโดยชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยดุสิต.

ไทยโพสต์. (2566). สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2566. จากhttps://www. thaipost.net/main/ detail/103356.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์ และคณะ. (2558). การพัฒนามาตรฐานและแนวทางการให้บริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในสถานดูแลระยะยาว. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ศิวลาภ สุขไพบูลย์วัฒน์. (2560). บทบาทของผู้สูงอายุต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9(17), 176-191.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. เรียกใช้เมื่อ 3 มิถุนายน 2566 จาก https://www. nesdc.go.th/article_attach/ article_file_20230307173518.

สุกัญญา วชิรเพชรปราณี. (2553). บทบาทผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัวอย่างมีสุขในชุมชนกึ่งเมืองจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 16(1), 50-59.

สุคี ศิริวงศ์พากร. (2556). ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.