ผู้บริหารสถานศึกษากับความมีภาวะผู้นำในยุคเทคโนโลยีดิจิทัล

Main Article Content

แสงดาว คงนาวัง
มนูญพงศ์ ชัยพันธุ์

บทคัดย่อ

         บทความเชิงวิชาการนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอคุณลักษณะของผู้บริหารในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลหรือภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจากการศึกษาวิเคราะห์แนวคิดของนักวิชาการในประเทศไทยและต่างประเทศ สรุปได้ว่าภาวะผู้นำในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1) มีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 2)  มีความรู้และทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ 3) มีการบริหารงานโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ 5)  มีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6)  ติดตามการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง 7) ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายงานในสถานศึกษามีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงาน 8) จัดสภาพแวดล้อมในองค์กรที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างแท้จริง 9) สร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นองค์กรแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล และ 10) กำกับติดตามและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกตุชญา วงษ์เพิก. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในยุคดิจิทัลสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5(2). 467-478.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จิรพล สังข์โพธิ์ สุวรรณ จันทิวาสารกิจ และเสาวณีย์ อยู่ดีรัมย์. (2565). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชูชาติ พุทธลา. (2561). องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2560 ). ผู้นำที่เรียกว่า Digital Leader ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. HR Society Magazine, 15, 172, 20-23.

ไทเกอร์. (2564). ภาวะผู้นำในยุคดิจิทัลคืออะไร (Digital Leadership). เรียกใช้เมื่อ 12 กรกฎาคม 2566 จาก https://thaiwinner.com/digital-leadership/.

ธรรมนิติ. (2562). ภาวะผู้นำยุคศตวรรษที่ 21. เรียกใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2566 จาก https://magazine. dst.co.th/magazine /detail/cpd?type=renew.

พรพิพัฒน์ ตั้งจิตรวัฒนากุล. (2560). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. สักทองวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 23 (1), 38 - 54.

พิจิตรา สึคาโมโต้. (2566). ภาพสะท้อนเชิงอารมณ์ของสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงความโศกเศร้าของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: กองทุนวิจัยคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาภรณ์ วัชรอัตยาพล. (2563). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด กรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุกฤตยา ปงกันทา. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

DuBrin, A. J. ( 2004) . Leadership: Research findings, practice, and skills. 5th ed. Boston, MA: Houghton Mifflin.