การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระอนุศร นริสฺสโร (ศรีตระกูล)
พระครูกิตติวราทร

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่อำเภอสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่อำเภอสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ประชากร จำนวน 12,913 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ t-test และ F-test (One-Way ANOVA)


         ผลการวิจัยพบว่า:


         1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 เขตพื้นที่อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการร่วมคิด รองลงมา คือ ด้านการร่วมติดตามและประเมินผลมาบูรณาการ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการร่วมปฏิบัติ


         2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา ด้านการร่วมติดตามและประเมินผลมาบูรณาการ ไม่แตกกัน นอกนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


         3. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านศีล 5 พบว่า ประชาชนควรมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการให้มากขึ้น ร่วมคิดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ และควรมีส่วนร่วมในการคิดเรื่องการบริหารจัดการโครงการ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยาณี สุคชีวิน และเวชสุวรรณ อาจวิชัย. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านศีล 5 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาก้องไพร สาคโร (เกตุสาคร). (2563). แนวทางการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดอุดรธานี. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระฐากูร วฑฺฒฺโน (จาวสุวรรณวงษ์), พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, สุทธญาณ์ โอบอ้อม. (2563). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 อำเภอพนมทวน จังหวักาญจนบุรี. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสิริชัย ธัมมานุสารี. (2558). ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมยศ ถามเชฏฺโฐ (ปรือปรัก). (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษา ศีล 5 ของคณะกรรมการจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). หมู่บ้านรักษาศีล 5: รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้าง วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(2), 435- 448.

Douglah, M. (1970). Some Perspective on the Phenomenon of Participation. Adult. Education Journal. 20(2): 88-98.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.