การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

Main Article Content

กิตติศักดิ์ สุวรรณชัยรบ

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส 2) สร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน รวม 99 คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00  และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ PNI ดัชนีความต้องการจำเป็น  ผลการวิจัย พบว่า                 1. สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และ สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


         2. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการ และ 5) การวัดและประเมินผล  และรูปแบบและครูมือมีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด     


         3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม พบว่า ความสามารถในการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ หลังการเข้าร่วมพัฒนาครูตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ครูมีคะแนนเฉลี่ยด้านความสามารถในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในชั้นเรียน เท่ากับ 33.26 คิดเป็นร้อยละ 83.15 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


         4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมวานรนิวาส โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.). (2560). ร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา.

คณะกรรมการบริหารงานวิจัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนคุณภาพของชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

จุฑามาศ แจ่มมี. (2564). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(10), 363-374.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดาราวรรณ วรรณสุข. (2563). การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และ พเยาว์ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2563). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส. (2564). รายงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2564. โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส.

ยุภาลัย มะลิซ้อน และกาญจน์ เรืองมนตรี (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. 7(8), 230-243.

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสร้างจิตนวัตกรรม กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์และเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). สภาวะการศึกษาไทยปี 2558/2559 แนวทางการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

__________. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง

สุปวีณ์ ชูรัศมี. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการจัดดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในกลุ่มโรงเรียนปู่เจ้าสมิงพราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. มหาจุฬานาครทรรศน์. 8(10), 157-169.

อัญชลี แสงอาวุธ. (2563). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎ์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 12(2), 118-127.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Clearinghouse on Higher Education. Washington: George Washington University.

Hazza, O., Lapidot, T., and Ragonis, N. (2014). Guide to teaching computer science: An Activity based Approach. New York: Springer.

Tileston, D.W. (2007). Teaching Strategies for Active Learning: Five Essential for You Teaching. U.S.A.: Corwin Press.