รูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ภาคีเครือข่าย และครู กศน. ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมจำนวน 274 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.80 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNIModified
ผลการวิจัยพบว่า:
1) สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2) การปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน 3) การมีส่วนร่วม และ 4) การจัดการเครือข่าย
2) รูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีดำเนินการ 4) แนวทางการประเมิน และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ และผลการตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมรูปแบบพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3) การะประเมินความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศกราช 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรสภา.
________. (2551). พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กริช ธรางศุ. (2563). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 กาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กาญจนา ปรีจำรัส. (2566). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 5(1), 297-308.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การจัดการเครือข่าย. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
จตุพร บุญระดม. (2563). รูปแบบการบริหารเครือข่ายของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์. 18(3), 39-45.
ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน. (2564). การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพนัสนิคม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(2), 114-123.
ทิศนา แขมมณี. (2546). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระ รุญเจริญ. (2544). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
นพปฎล บุญพงษ์. (2560). การน าเสนอรูปแบบการบริหารเครือข่ายสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (25560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566. (2566, มีนาคม 18). ราชกิจจานุเบกษา. 140(20ก), 60-72.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิควิธีประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ยงยุทธ ยะบุญธง. (2559). รูปแบบการบริหาภาคเครือข่ายสถานศึกษา ระดับประถมศึกษาที่เป็นเลิศในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วนิดา หลีกประโคน. (2563). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกกระบบและการศึกษาจามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมาน อัศวภูมิ. (2549). การบริหารงานในสถานศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2559). การบริหารเครือข่ายการศึกษา. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุบิน ผลอนุรักษ์วงศ์. (2563). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของภาคีเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในจังหวัดลพบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2565, 234-247.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). เอกสารคำสอน รายวิชา0501702 หลักการ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม: ภาคการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารศึกษาศาสตร์ 29(1), 143-157.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรสา ปานขาว. (2531). การสื่อสารเพื่อการพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2552). การวิจัยด้านการบริหารจัดการการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Keeves. (1988). Educational research, methodology and measurement :An international handbook. Oxford: Pergamon Press.