เมืองโบราณชัยภูมิ : แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม

Main Article Content

พระมหาวิฑูรย์ สิทฺธิเมธี, ดร.

บทคัดย่อ

         งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสำรวจแหล่งเรียนรูทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคทวารวดีและยุคขอม 2) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคทวารวดี และยุคขอม 3) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ยุคทวารวดี ยุคขอม จนถึงยุคปัจจุบันในจังหวัดชัยภูมิ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ


          ผลการวิจัยพบว่า:


          1) แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิยุคทวารวดีและยุคขอม  จำนวน 10 แห่ง ดังนี้ 1) พระใหญ่ทวารวดี  2) พระธาตุหนองสามหมื่น 3) พระพุทธรูปศิลาแกะสลักบนหน้าผาภูพระ 4)ใบเสมาสมัยทวารวดี วัดศรีปทุมคงคาวนาราม บ้านกุดโง้ง 5) เมืองโบราณหามหอก 6) ปราสาทกู่แดง 7) ปรางค์กู่บ้านแท่น 8) ปราสาทปรางค์กู่ 9) ปรางค์ดอนกู่  10) พระธาตุกุดจอก  2) การพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดชัยภูมิในยุคทวารวดี และยุคขอม พบว่า เป็นการจัดการแหล่งเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพที่มีอยู่อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  หรือหน่วยงานของรัฐที่มีส่วนรับผิดชอบเลือกนำมาใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ศาสนาและวัฒนธรรมยุคทวารวดีและยุคขอม โดยใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง  ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมเพราะเป็นกระบวนการจัดการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 3) การเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ยุคทวารวดี ยุคขอม จนถึงยุคปัจจุบันในจังหวัดชัยภูมิ แบ่งการเชื่อมโยงออกเป็น 3 ด้านได้แก่ 1) ด้านประวัติศาสตร์ 2) ด้านศาสนาและ 3) ด้านวัฒนธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ โล่ห์เพชรัตน์, (2565). ขอมโบราณ. กรุงเทพมหนคร: ก้าวแรก.

กรมศิลปากร. (2529). จารึกในประเทศไทย เล่ม 1-4. กรุงเทพมหานคร: กองหอสมุดแห่งชาติ.

ธาดา สุทธิธรรม. ( 2562). มรดกสถาปัตยกรรมและผังเมืองอีสาน. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2522). ประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคอีสาน. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.

สุทธิ เหล่าฤทธิ์และคณะ. (2545). ประวัติเมืองชัยภูมิ. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.

นครินทร์ น้ำใจดี. (2555). แนวทางการพัฒนาการจัดการแหล่งเรียนรู้ตรอกบ้านจีน ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก, ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพ็ชรสวัสดิ์ กันคำ. (2561). ความเชื่อมโยงของแหล่งวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวเส้นทางโบราณเชียงราย-เชียงแสน. วารสารปัญญา. 25(1).

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภาพรวมภูมิปัญญาไทย. พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์.