กระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

ชัยยุทธ เดชสีหา
พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์
พิมพ์พร จารุจิตร์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู 2) ศึกษากระบวนการการบริหารสถานศึกษาสู่มาตราฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษา สู่มาตราฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา  จังหวัดหนองบัวลำภู การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตราฐานโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา  จังหวัดหนองบัวลำภู และระยะที่ 2 การศึกษากระบวนการการบริหารสถานศึกษา และศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจะจง (Purposive Selection) ทั้งหมด 24 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) การสังเกตและจดบันทึก (Observation and field-in) และแบบตรวจสอบรายการ(Check list)


         ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของกระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้ การวางแผน   การจัดการองค์การ การบริหารงานบุคคล  การสั่งการ  การประสานงาน และ การควบคุม  2) การปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับสู่มาตรฐาน โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา  จังหวัดหนองบัวลำภู มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหา อุปสรรค ที่พบคือ มีภาระงานมาก บุคลากรในสถานศึกษามีไม่เพียงพอ ทำให้บุคลากรมีความกังวลในการทำงานเนื่องจากต้องดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  ถ้างานไม่เสร็จตามเป้าหมายอาจกระทบต่องานอื่นๆในโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม พงศ์ยี่ล่า. (2550). กระบวนการบริหารของโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา อำเภอกันตัง จังหวัดตรังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

เกษม วัฒนชัย. (2561). โรงเรียนคุณธรรม ช่วยกันสร้างคนดีให้บ้านเมือง. กรุงเทพมหานคร: พ.ศ. พัฒนา.

ชูศักดิ์ ประเสริฐ. (2558).ทฤษฎี ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้.เรียกใช้เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567 จาก www.chusak.net. 2558.

ทรงสิทธ์ เหลืองธิชัยวาณิช. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ทองสา ยงเพชร. (2551). การศึกษาการดำเนินงานตามกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

ธิดาทิพย์ ชูแก้ว. (2556). ศึกษาการดำเนินงานตามกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอรามัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1.การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

พิชญาภา ขันทอง. (2554). กระบวนการบริหารของโรงเรียนทีผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพรเขต 2 จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ภาณุวัตน์ บุดดาลี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารสถานศึกษากับการประกันคุณภาพตามมาตรฐานด้านการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

รอฮานา ยามา. (2556). การดำเนินงานตามกระบวนการบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดปัตตานี. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เสรี ภักดี. (2564). ศึกษาระดับกระบวนการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดยะลา.หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2559). ทุกสุขสร้างได้. กรุงเทพมหานคร: ฟรีมายด์.