แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

กรกุลผลทอง นามปักใต้
ศศิรดา แพงไทย

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 335 คน ผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าความต้องการจำเป็น


         ผลการวิจัยพบว่า        


         1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และดัชนีความต้องการจำเป็นในภาพรวม คือ 0.45 (PNIModified = 0.45)


           2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีในครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอเป็น 5 องค์ประกอบ 17 แนวทาง ซึงได้แก่ 1) การมีทักษะการสื่อสารที่ยอดเยี่ยม จำนวน 4 แนวทาง 2) การส่งเสริมภาพลักษณ์ จำนวน 5 แนวทาง 3) การสร้างแรงบันดาลใจ จำนวน 3 แนวทาง 4) การมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จำนวน 3 แนวทาง และ 5) การมีความกล้าที่จะเสี่ยง จำนวน 2 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ วัฒนาวิโส. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับความพึงพอใจในงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ความกล้า: ชัยชนะสู่ความสำเร็จ. เรียกใช้เมื่อ 15 ตุลาคม 2566 จากhttps://bit.ly/2qcGlkm

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จตุภูมิ เขตจตุรัส. (2565). ระเบียบวิธีวิทยาการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เตือนใจ สุนุกุล. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.

ทองทิพภา วิริยะพันธ์. (2550). ทักษะผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: CP.CYBERPRINT.

ธีรวีร์ แพบัว. (2564). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู

โรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 8(1), 55-68.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2550). ผลักโฉมองค์กรด้วยกลยุทธ์การสื่อสารชั้นเซียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ฐานการพิมพ์.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข. (2564). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและ

สังคมศาสตร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 8(2), 329-343.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ:ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาสินี สุวรรณคาม . (2565). ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา. ในการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 4 Graduate school conference 2022 iHappiness: ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและปฏิบัติ. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุธีลักษณ์ แก่นทอง. (2555). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัตรา สกุลแก้ว และ ทับทิมทอง กอบัวแก้ว. (2566). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ การบริหารงานวิชาการ. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปงบประมาณ พ.ศ. 2564. อุดรธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี.

อารีรัตน์ จีนแส. (2562). ภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์. (2562). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 13(2), 136–144.

Conger, J. A., & Kanungo, R. N. (1988). Charismatic leadership: The elusive factor inorganizational effectiveness. San Francisco: Jossey-Bass.

House, R. J., Spangler, W. D., & Woycke, J. (1991). Personality and charisma in the U.S. presidency: A psychological theory of leader effectiveness. Administrative Science Quarterly 36(3), 364-396.

Krume, N. (2015). CHARISMATIC LEADERSHIP AND POWER: USING THE POWER OF CHARISMA FOR BETTER LEADERSHIP IN THE ENTERPRISES. Journal of Process Management and New Technologies, 3(2), 18–27. Retrieved October 15, 2023 from https://doaj.org/article/56f1716319b6457d99dd9e4667d1265d.

McCollum, Daneil L. and Kajs, Lawrence T. (2007). Advances in Educational Administration. United Kingdom: Emerald Group Publishing Limited.

Mumford, M. D., Zaccaro, S. J., Harding, A. K., Jacobs, T. O., & Fleishman, E. A. (2014). Stogdill's leadership theory: A legacy for the 21st century. The Leadership Quarterly. 25(1), 161-170.

Ozgenel, M. (2020). The Role of Charismatic Leader in School Culture. Eurasian Journal of Educational Research. Retrieved October 15, 2023 from https://eric.ed. gov/?id=EJ1248745.

Piscione, D. P. (2014). The 7 Characteristics of Bold Risk-takers. Retrieved October 15, 2023, from https://bit.ly/2Ju6Nhx.