ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู และ 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาโดยภาพรวม ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงจึงได้รับเลือกเข้าสมการตามลำดับ คือ 1. ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ (X3) 2. ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ (X1) และ 3. ด้านการมีวิธีคิดเชิงปฏิวัติ (X2) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .796 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted R2) เท่ากับ .629 นั่นคือ ตัวแปรทั้ง 3 ตัว สามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ได้ร้อยละ 62.90 โดยด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ เป็นตัวแปรที่สามารถส่งผลต่อความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษามากที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .646
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จีระพันธ์ พูลพัฒน์. (2553). พัฒนาการของการบริหารการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฐิติมา จำนงเลิศ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย บรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ พย.ม. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพวรรณ พรมกอง. (2558). ประสิทธิผลของโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นันท์นภัส สุทธิการ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พิมพรรณ สุริโย. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(1), 71-77.
วิรันทร์รัตน์ เสือจอย. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง. (วิทยานิพนธ์ศึกษา มหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุริยา อยู่เย็น (2556). ประสิทธิผลของโรงเรียนในอำเภอท่าตะเกียบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาวิทยาลัยบูรพา.
สุทธิพงษ์ อันทรบุตร. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
แสงระวี ลิตรักษ์, พนายุทธ์ เชยบาล และพิมพ์พร จารุจิตร์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ ผู้บริหาร สถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ครั้งที่ 13 : 21-22 เมษายน 2561 (หน้า 711-721). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินท์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. เลย: กลุ่มนโยบายและแผน.
อธิพันธุ์ วิไลลักษณ์. (2557). การบริหารคุณภาพงานการจัดการศึกขาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังช่อย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์การบริหารองค์การภาครัฐและเอกชน.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อาทิตยา ละครพล. (2560). ความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาต่อการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
Dubrin, A. J. (2007). Leadership Research Findings, Practice, and Skills. New York:George Hoffiman.
Hitt, M.A., & Hoskisson, R.E. (2007). Strategic Management. 6th ed. New York: Thomson Corporation.
Yamané,Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.