ผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ

Main Article Content

พระปัญญวัฒน์ คุตฺตสีโล (อโนราช)
พระสิทธิรักษ์ จนฺทสาโร (หมู่หัวนา)
พัชรี ศิลารัตน์
ปัญญา คล้ายเดช
วสันต์ ศรีสอาด

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อภาคประชาชนจากการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 เข้ามาในประเทศไทย ภาครัฐได้ออกนโยบายให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว ออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปในวงกว้าง มีคำสั่งออกมามากมายให้ภาคประชาชนปฏิบัติตามแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค 2) ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และ 3) ด้านการช่วยเหลือเยียวยา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คุ้นเคยกับวิถีชีวิตโดยปกติของประชาชน จึงทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา ส่งผลกระทบแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งประเทศต้องลดลงในทุกภาคส่วน ผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียงาน รายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น ถูกปรับลดเงินเดือนหรือค่าตอบแทน ถูกเลิกจ้างงาน ไม่มีพื้นที่ค้าขาย เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ภาระหนี้สินในและนอกระบบมากขึ้น กระทบต่อผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางเป็นอย่างมาก 2) ด้านสังคม ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมเพิ่มขึ้น ครอบครัวยากจนและกลุ่มผู้เปราะบางต้องเผชิญกับความยากลำบากในชีวิตมากขึ้น การงดกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ งดการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ในช่วงปิดเมืองนั้นที่อยู่อาศัยมีความแออัดเพิ่มมากขึ้น ผู้มีรายได้น้อยประสบปัญหาการขาดแคลนอาหาร และ 3) ด้านสุขภาพ เกิดการเจ็บป่วย ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ผู้คนเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ต่อสถานการณ์ระบาดของโรค เกิดความรู้สึกเหงา มีความปริวิตกกังวลทางด้านชีวิตความเป็นอยู่ ด้านการเงินทั้งของตนเองและของครอบครัว วิตกกังวลกลัวว่าตนเองและสมาชิกในครอบครัวจะติดเชื้อ สุขภาพที่แย่ลงเนื่องจากไม่มีความสุขหรือมีอาการทางสุขภาพจิต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 4(1), 33-46.

ณัฐหทัย นิรัติศัย และคณะ. (2563). ระบบสาธารณสุขไทย : ความท้าทายในสถานการณ์วิกฤติ. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 6(3), 174-188.

นัชชา เกิดอินทร์ และคณะ. (2564). มาตรการการเยียวยาของรัฐต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(11), 259-272.

วลัยพร รัตนเศรษฐ์ และคณะ. (2563). บทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 4(2), 71-87.

สมชาย ปรีชาศิลปะกุล. (2564). การเมืองและรัฐไทยในการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารพัฒนศาสตร์. 4(1), 1-11.

สมศรี สัจจะสกุลรัตน์ และคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจการสงฆ์ของเจ้าอาวาสในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19. วารสารวิจัยพยาบาลและสุขภาพ. 2(22),125-137.

สายสมร เฉลยกิตติ และคณะ. (2563). ผลกระทบโรคระบาด COVID-19 : การจัดการเรียนการสอน ทางการพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 36(2), 255-262.

สุพัตรา รุ่งรัตน์ และคณะ. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. รายงานวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อภิวดี อินทเจริญและคณะ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 3(2), 19-30.