หลักการสงเคราะห์ในมุมมองพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระมหามีชัย กิจฺจสาโร
พระครูปริยัติพุทธิคุณ
พระมหาวราทิต อาทิตวโร
พระมหาบัวพันธ์ ฉนฺทโสภโณ
พระมหาเศรษฐา เสฏฺฐมโน

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาหลักการสงเคราะห์ในมุมมองพระพุทธศาสนา การสงเคราะห์คือการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในมุมมองพระพุทธศาสนาแบ่งเป็น 2 อย่างได้แก่ 1) อามิสสงเคราะห์ สงเคราะห์อามิสสิ่งของที่จำเป็นในชีวิต และ 2) ธรรมสงเคราะห์การให้หลักธรรมคำสอนเป็นทาน การสงเคราะห์มุ่งให้เกิดผลเป็นการตอบสนองความต้องการของชีวิตและแก้ไขปัญหาของชีวิต ใน 3 ลักษณะ ดังนี้ 1) การแก้ไขปัญหาด้านบุคคล 2) การแก้ไขปัญหาด้านสังคม และ 3) การแก้ไขปัญหาด้านจิตใจ หลักการของการสงเคราะห์ในพระพุทธศาสนามีแบบที่ดำเนินตามธรรมทาน เข่น การถวายทาน การสมาทานศีล การปฏิบัติวิปัสสนาธุระ หลักการของการสงเคราะห์ด้านวัตถุสิ่งของต่อผู้อื่น ได้แก่ การแบ่งปันช่วยเหลือด้วยปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค คุณลักษณะของผู้ให้การสงเคราะห์ คือ มีความรักที่เป็นกุศลจิต มีจิตเมตตาและกรุณาปรารถนาดี และมีจิตอาสาคิดช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ประโยชน์ของหลักการสงเคราะห์ทำให้คนในสังคมเกิดความสามัคคีและสันติสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ และคณะ. (2533). หลักการดำรงชีวิตในสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2521). ปรมัตถโชติกะ สมถกรรมฐานทีปนี. พระนคร: มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ จัดพิมพ์.

พันเอกปิ่น มุทุกันต์. (2526. บันทึกธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คลังวิทยา.

พุทธทาสภิกขุ. (2525).บรมธรรมภาคต้น. กรุงเทพมหานคร : ธรรมทานมูลนิธิ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535).พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

______. (2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534).พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

______. (2531). สทฺธมฺมปกาสินี ทุติโย ภาโค. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.