การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

วันเฉลิม บุญเกษม
ไพฑูรย์ แวววงศ์
ศศิรดา แพงไทย

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี จำนวน 430 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis)


            ผลการวิจัย พบว่า


            1) องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การสื่อสาร วิสัยทัศน์ ทักษะด้านดิจิทัลและการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล 2) โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยพิจารณาจาก  2 เท่ากับ 81.305, df เท่ากับ 64, P-Value เท่ากับ .0711, RMSEA เท่ากับ .025, CFI เท่ากับ .997, TLI เท่ากับ .996, SRMR เท่ากับ .017

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมกฤช พรหมฉิน. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.

จิตรกร จันทร์สุข. (2564). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิท

ยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 36-49.

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). ศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน.(2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล (LISREL) : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาณุวัฒน์ วรพิทย์เบญจา. (2558). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 8(2), 58-67.

ภานุมาศ จันทร์ศรี. (2562). โมเดลการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา : การวิจัยแบบผสมผสานวิธี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุภวัช เชาวน์เกษม. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุนทรพจน์ ดำรงพานิช. (2555). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. อุดรธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2560). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

Hair, J.F., Anderson, R.E. & Tatham, R.L. & Black, W. C. (1998). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Prentice-Hall.

Sheninger, E.C. (2014). Digital leadership: changing paradigms for changing times. United States of America: Corwin.