ผลกระทบสมรรถนะของผู้สอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ประสิทธิ์ รุ่งเรือง
ณภัสรวัลย์ ยินเจริญ
มีพร หาญชัยสุขสกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบสมรรถนะที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 177 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การหาความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการศึกษา พบว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ การมีสมรรถนะการสอบบัญชีโดยรวมและคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุดจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมรรถนะการสอบบัญชี ด้านความรู้ความสามารถการสอบบัญชี ด้านทักษะการปฏิบัติงานตรวจสอบ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชี


ดังนั้น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพในเรื่องของ สมรรถนะการสอบบัญชี ที่จะสามารถนำไปสร้างความได้เปรียบในการปฏิบัติงาน รวมถึงควรให้ ความสำคัญกับการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอบบัญชี และการพัฒนา สมรรถนะของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คุณภาพการสอบบัญชีน่าเชื่อถือตามมาตรฐาน และมีความถูกต้อง สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพร นามสีฐาน. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการบัญชีสมัยใหม่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม:มหาสารคาม.

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว และธเรศ สันตติวงศ์ไชย. (2565). ผลกระทบของคุณภาพของข้อมูลทางบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจและการบริหารคุณภาพโดยรวมและส่งไปยังความสำเร็จของบริษัทที่ผลิตและส่งออกรถยนต์. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 11(2), 43-66.

แดน กุลรูป. (2565). อิทธิพลเชิงโครงสร้างของสมรรถนะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการสอบบัญชี และการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(1), 141-158.

นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบที่มีต่อผลการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย.วารสารราชพฤกษ, 16(2), 130-139.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). การสอบบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพรรณ ดำรงสุขนิวัฒน์, ดนุชา คุณพนิชกิจ และสุพล ดุรงค์วัฒนา. (2557). ความเชื่อมโยงของส่วนเพื่องบประมาณกับรายการคงค้างที่ขึ้นกับดุลพินิจของฝ่ายบริหาร: หลักฐานเชิงประจักษ์ของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 36(4), 1-25.

รัตติยา วงศรีลา. (2560). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีที่มีต่อคุณภาพงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้าคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วิไลรัตน์ เพ็ชรหึง และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2565). สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี และการตรวจสอบภายในภาคราชการที่มีผลต่อคุณภาพการประเมินการปฏิบัติงานด้านบัญชีภาครัฐของสถานศึกษาอาชีวศึกษารัฐบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Journal of Modern Learning Development, 7(9), 235-249.

วิไลวรรณ โพนศิริ. (2562). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 125-136.

วีรณา ติรณะประกิจ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีลดลง. วารสารวิชาชีพบัญชี, 5(14), 69-79.

ศรีอุบล ทองคำ. (2557). ผลกระทบของเทคนิคการสอบบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อภิสิทธิ์ ไทยถาวร. (2556). ผลกระทบของความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรสา ไชยผง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานทางการบัญชีกับผลการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Cassell, C. et al. (2019). A Hidden Risk of Auditor Industry Specialization: Evidence from the Financial Crisis. Review of Accounting Studies, 24(3), 891-926.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B.J., & Anderson, R. E. (2018). Multivariate Data Analysis (8th ed). Prentice Hall, Upper Saddle River, New Jersey.