ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ในประเทศไทย

Main Article Content

Aukkarawit Robkob

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยจึงใช้สูตรคำนวณของ Cochran กำหนดความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ยอมให้เกิด .05 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่าง 385 คน เพื่อความเหมาะสมจึงเก็บข้อมูลเพิ่มเป็นจำนวน 400 ชุด หลังจากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็นใช้แบบสอบถามออนไลน์ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานและการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการมีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ในประเทศไทย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (β1 = 0.121) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (β3 = 0.199) ด้านการส่งเสริมการตลาด (β4 = 0.227) ด้านกระบวนการ (β6 = 0.166) และด้านองค์ประกอบทางกายภาพ (β7 = 0.170) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ได้ร้อยละ 68.0 สำหรับปัจจัย ด้านราคา (β2 = 0.014) และ ด้านบุคคล (β5 = 0.059) ไม่มีความสัมพันธ์และผลกระทบกับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ในประเทศไทย ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการในด้านที่ถูกต้องตรงประเด็น เพื่อสามารถนำไปพัฒนาธุรกิจของตนเอง ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจเติบโต และยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ คชอาจ. (2564). แบบจำลองธุรกิจแคนวาสจำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มเจนเนอเรชันวายร้านลาน่าสโตร์. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรรณิการ์ ชัยอำนาจ และ กฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์

ผ่านทางแอพพลิเคชัน SHOPEE ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). ธุรกิจแฟชั่นออนไลน์เติบโตและขับเคลื่อนโดยการดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ได้สำเร็จ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://oldweb.ditp.go.th/contents_attach/623154/623154.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2565).

กรมสุขภาพจิต. 2563. Gen Y/Gen Me ประชากรกลุ่มใหญ่ของโลกยุคดิจิตอล ผู้กุมชะตาโลกในอนาคต. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://dmh.go.th/news/view.asp?id=1251. (วันที่ค้นข้อมูล : 2 มีนาคม 2566).

กริณฑวัฏ รักงาม. (2560). องค์ประกอบที่สงผลตอการเลือกใช้บริการ E-marketplace ของผู้บริโภคกรณีศึกษา SHOPEE ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กรุณา ศิลกุล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.

(พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สามลดา.

จินณวัฒน์ อัศวเรืองชัย, ศักดา นาควัชระ, ทวินานันญ์ พุ่มพิพัฒน์, กันตินันท์ กิจจาการ, และ เปียทิพย์ กิติราช. (2565). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารรัชตภาคย์, 16(46), 389-404.

เจติยา ทองนวล. (2560). แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้ามือสองออนไลน์ร้าน Cool Monkey ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชญาดา สมศักดิ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ยี่ห้ออิเกีย ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชมพูนุช น้อยหลี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตร เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.

ณิชารีย์ ทวีพัฒนะพงศ์. (2561). อิทธิพลของภาพลักษณ์องค์กรส่วนประสมการตลาดและประโยชน์ที่ได้รับที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ Lazada ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธรรมรัตน์ ธารีรักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

ธิคณา ศรีบุญนาค, และ อุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องสําอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2(3). 1-23.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29, 31-48.

ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะวรรณ แซ่อึ้ง. (2562). ความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Shopee. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เปรมกมล หงษ์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์

(ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยสยาม.

พรนิภา หาญมะโน. (2558). พฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่ม Generation B Generation X และ Generation Y ที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 4(1) 54-75.

พรรวินท์ พลอยประเสริฐ. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของประชากร ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1-86.

พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางค์

ผ่านเฟซบุ๊ก. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิมพ์ผกา เตชวโรศิริสุข. (2562). พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Shopee ของคนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (1-14).

พิรัชย์ชญา คล่องกำไร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านเฟซบุ๊กของกลุ่มเจเนอเรชันวาย

ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 132-149.

ภัทรวดี ศรีธาราม. (2561). การศึกษารูปแบบการตลาดออนไลน์ของร้านค้าเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live). สารนิพนธ์ การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

รังสรรค์ มณีเล็ก, วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, บุญศรี พรหมมาพันธุ์, บุญเชิด ภิญญอนันตพงษ์, ทัศนีย์ ชาติ ไทย, กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล, กานดา พูนลาภทวี, ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์, พิศเพลิน เขียวหวาน, จินตนา ธนวิบูลย์ชัย, ภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์, สุจิตรา หังสพฤกษ์, นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, เบญจาภรณ์ โหตรภวานนท์, สุพักตร์ พิบูลย์, พิมพา สมใจ, และชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ. (2546). มิติใหม่ทางการศึกษา

ทิศทางการจัดการศึกษาในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช.

วะสา ปฏิสัมภิททาวงศ์. (2563). กระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่าน Application Shopee ในสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาขาการเงินและการธนาคาร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิวิศนา โชติศักดิ์. (2563). ความพึงพอใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Lazada ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. สาขาการจัดการ. (คณะบริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศรัณยนันฑ์ ศรีจงใจ. (2561). ป้จจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านช่องทางการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook Live) ของผู้บรีโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริกานดา แหยมคง อิราวัฒน์ ชมระกา สมเกียรติ จิระวงศ์เสถียร และสยาม เจติยานนท์. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อลางสาดจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 23(3), 97-107.

ศิรินทิพย์ เหลืองสุดใจชื้น. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปณิศา มีจินดา, อรทัย เลิศวรรณวิทย์, ปริญ ลักษิตานนท์, องอาจ ปทะวานิช, และจิระวัฒน์ อนุชชานนท์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่าน และกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). ETDA เผย Gen Y ทวงบัลลังก์ ใช้เน็ตมากสุด เกือบ

ชั่วโมงต่อวัน ฮิตสุด ดู LIVE COMMERCE ข้าราชการ-จน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.etda.or.th/th/pr-news/iub2022.aspx. (วันที่ค้นข้อมูล : 20 เม.ย. 2566).

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). การค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 1-146.

สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อณัฐพล ขังเขตต์. (2553). ส่วนผสมทางการตลาด E-Commerce 6P. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : http://drsuntzuweekly.com/it/-e-commerce-6p. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2565).

อรรถพร ถาน้อย. 2562. สื่อสังคมออนไลน์เปลี่ยนโลก และอาจเปลี่ยนชีวิตคุณ. วารสารสวนดอกวาไรตี้.

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://w2.med.cmu.ac.th/suandok-variety/it/1313/ (วันที่ค้นข้อมูล : 25 กุมภาพันธ์ 2566).

อรจิรา แก้วสว่าง, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และ วราพร ดำรงค์กูลสมบัติ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชัน Shopee ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(2), 308-321.

อรอนงค์ กลิ่นสุวรรณ์ และวัชระ ยี่สุ่นเทศ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสุภาพสตรีพลัสไซส์ ผ่านออนไลน์. วารสารวิชาการ วิทยาลัยสันตพล, 7(1), 121-127.

อามานี่ ชุมศรี, และ ฉันทนา ปาปัดถา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของสตรีมุสลิมในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(2), 74-94.

อิราวัฒน์ ชมระกา, ชัชชัย สุจริต, ภาศิริ เขตปิยรัตน์, ศิริกานดา แหยมคง, และ เบญจวรรณ สุจริต. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายแฟชั่นผ่านช่องทางการตลาดแบบออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารลวะศรี, 6(1), 106-125.

Black, K. (2006). Business statistics for Contemporary Decision Marking. (4th ed.). USA: John wiley & Sons.

Chrles W Lamb, Joseph F. Hair, & Carl McDaniel. (2000). Markettng. 5th ed. Cincinnati : South- Western College.

Cochran, W.G. (1997). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons.

Gary Armstrong, & Philip Kolter. (2009). Marketing an introduction. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Kotler, P. (1997). Marketing Management : Analysis, Planning, Implementation and Control.

(5th ed). Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.

Kotler, P. and Keller, K.L. (2016). Marketing Management. (15th ed). Edinburgh: Pearson Education.

Nattapon Muangtum. (2023). สรุป 31 Thailand Digital Stat Insight 2023 จาก We Are Social. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/thailand-data-digital-stat-insight-2023-from-we-are-social/ (วันที่ค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2565).

Robert L. Ebel, & David A. Frisbie. (1986). Essentials of Educational Measurement. (4th ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Schiffman, L.G.; & Kanuk, L.L. (1994). Consumer behavior. (5th ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Unicorn Agency. (2021). การใช้ Social Media ของคนไทย อัพเดทปี 2564. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://unicornhouse.me/th/marketing. (วันที่ค้นข้อมูล : 19 ธันวาคม 2564).