จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมการตีพิมพ์

วารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา(DJBID)  กำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) โดยอ้างอิงจาก https://publicationethics.org/ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเป็นการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการในระดับสากล จึงได้กำหนดบทบาทหน้าที่แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ยึดถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รายละเอียดดังนี้

 

จริยธรรมการตีพิมพ์บทความในวารสาร

  1. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบ ที่พิมพ์ลงในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบทความ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
  2. บทความใดที่ท่านผู้อ่านตระหนักว่า ได้มีการลอกเลียนหรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิงหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียนบทความ ขอความกรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที
  3. บทความทุกบทความผ่านการตรวจและประเมินจากกองบรรณาธิการ
  4. บทความจากผู้เขียนภายในและภายนอกได้รับการตรวจและประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหรือภายในอย่างน้อย 2 ท่าน
  5. บทความจากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอกได้รับการตรวจและประเมินแบบ Double Blinded

 

บทบาทหน้าที่ของผู้เขียนบทความ

  1. ผู้เขียนต้องรับรองว่า บทความที่ส่งเข้ามายังวารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรือกำลังอยู่ในระหว่างการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. กรณีบทความที่ผู้เขียนส่งเข้ามาเป็นการแปลมาจากบทความภาษาต่างประเทศ ผู้เขียนต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นผู้เขียนเจ้าของภาษาและสำนักพิมพ์ ยินยอมให้แปลเป็นภาษาไทย
  3. ผู้เขียนต้องมีชื่อของตนเอง และผู้เขียนร่วม (หากมี) ปรากฏอยู่ในไฟล์บทความที่ส่งเข้ามายังระบบตอบรับบทความออนไลน์ ThaiJo 2.0 ของวารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา
  4. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของวารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษาอย่างเคร่งครัด ทั้งรูปแบบการจัดเอกสารและหลักเกณฑ์การอ้างอิง โดยสามารถศึกษาได้ที่ “คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง”
  5. ผู้เขียนต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ซึ่งทางวารสารฯจะตรวจสอบด้วยโปรแกรม Copy Cat ในระบบส่งบทความออนไลน์ Thaijo 2.0 ที่ตั้งค่าความซ้ำซ้อนไม่เกิน 25% (แต่จะได้รับการยกเว้นเมื่อเนื้อความที่ซ้ำซ้อนนั้นมาจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา)
  6. ผู้เขียนต้องมีการอ้างอิงเนื้อหาในบทความของตนเองทั้งข้อความ ภาพ ตาราง เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยให้ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลด้วยการอ้างอิงท้ายกระดาษ (Footnote) และระบุลงหมวดหมู่ในบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์การอ้างอิงของวารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา หากพบการละเมิดลิขสิทธิ์ ทางวารสารฯจะดำเนินการถอนบทความออกจากการเผยแพร่ทันที และหากมีการฟ้องร้อง ทางวารสารฯ จะไม่รับผิดชอบ และให้เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว
  7. หากผลงานการวิจัยของผู้เขียนมีความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร มีประเด็นที่เปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล ผู้เขียนควรดำเนินการวิจัยตามหลักจริยธรรมการวิจัยอย่างเคร่งครัด
  8. ผู้เขียนจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่สร้างข้อมูลเท็จ บิดเบือน ตกแต่ง หรือตัดเนื้อความเพื่อประสงค์ให้สอดคล้องกับผลสรุป
  9. เมื่อผู้เขียนได้รับผลการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ต้องทำการปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งกลับมายังกองบรรณาธิการในกรอบเวลาที่กำหนด
  10. หากมีแหล่งทุนสนับสนุนในการทำวิจัย หรือผลประโยชน์ส่วนรวม ให้ระบุที่เชิงอรรถแรกของบทความ
  11. ผู้เขียนไม่สามารถนำบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษาแล้ว นำไปแก้ไข ดัดแปลง หรือแปลเป็นภาษาอื่นๆ เพื่อนำเสนอลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น และนำเสนอบทความในรูปแบบต่างๆ

 

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ต้องกำกับ ติดตาม ดูแล และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษา ตั้งแต่ขั้นแรกในการกลั่นกรองบทความให้ตรงตามขอบเขตของวารสาร หลักเกณฑ์การอ้างอิง ตลอดจนข้อกำหนดอื่นๆ รวามทั้งการรับรองคุณภาพของผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ความถูกต้องตามหลักจริยธรรมสากล และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
  2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้ประเมินบทความ แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ ซึ่งวารสารพุทธพัฒนศาสตร์ศึกษากำหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดรายชื่อ (Double blinded)
  3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ต้องไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว โดยมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างจริงจัง โดยดูผลประเมินจากโปรแกรม Copy Cat ของระบบตอบรับบทความออนไลน์ ThaiJo 2.0 ในระดับไม่เกิน 25% เพื่อให้แน่ใจว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารฯไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นเกินตามที่กำหนดไว้ จะต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้เขียนบทความหลักทันที ขอคำชี้แจงเพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การลงตีพิมพ์บทความนั้นๆ
  4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียนบทความ และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความโดยเด็ดขาด เพื่อรักษาไว้ซึ่งจริยธรรม จรรยาบรรณการทำงานอย่างเคร่งครัด
  5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ สามารถชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review) ได้
  6. หากเกิดการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ ต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยความชัดเจนที่สามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้การเพิกถอนนี้ต้องให้ผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ทราบด้วย

 

บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  1. ผู้ประเมินควรคำนึงถึงคุณภาพบทความตามหลักวิชาการและจริยธรรมสากลเป็นหลัก โดยพิจารณาความสำคัญ ความใหม่ คุณค่าของเนื้อหาอันจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ ประชาชน และสังคมโดยใช้ความเชี่ยวชาญวิเคราะห์คุณภาพและความเข้มข้นของผลงาน โดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการรองรับ เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความ
  2. ผู้ประเมินต้องใส่ความคิดเห็นทางวิชาการของตนลงในแบบฟอร์มการประเมิน ที่อยู่ในระบบตอบรับบทความออนไลน์ของวารสารฯ ด้วยความเป็นนักวิชาการ มีความชัดเจน ปราศจากความอคติ รวมทั้งต้องส่งผลการประเมินบทความตรงตามกรอบเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนด
  3. ผู้ประเมินต้องไม่นำข้อมูลทุกส่วนของบทความที่ตนประเมินไปเป็นผลงานของตนเอง ยกเว้นการอ้างอิงบทความหลังจากบทความที่ตนประเมินได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เรียบร้อยแล้ว
  4. ผู้ประเมินต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลทุกส่วนของบทความ ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความแก่บุคคลอื่น
  5. กรณีผู้ประเมินพบว่า บทความที่กำลังประเมินเป็นบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนผลงานอื่น ผู้ประเมินต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที ด้วยการเลือกข้อเสนอแนะในขั้นตอนการวิจารณ์ว่า “ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความ” และระบุเหตุผลมาในช่อง “คำแนะนำอื่นๆ”
  6. ผู้ประเมินต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน