การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี เข้มแข็ง -
  • ผศ. ดร.ระวิง เรืองสังข์
  • ดร.ลำพอง กลมกูล

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, การบริหารสมรรถนะสูง, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี” ผู้วิจัยมุ่งนำเสนอเฉพาะองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร พนักงานครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 260 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีประกอบด้วย 5 ด้านหลัก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากตามทัศนะของผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) การสร้างองค์กรเครือข่าย: มีการสร้างกลไกการเรียนรู้ที่บุคลากรพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลานำไปสู่องค์แห่งการเรียนรู้ มีโครงสร้างบริหารงานชัดเจน ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม มีการทำงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างและสั่งสมองค์ความรู้ใหม่ 2) การบริหารเชิงกลยุทธ์: มีการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีระบบการประเมินบุคลากรด้านสมรรถนะและทักษะชัดเจน มีวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ แนวทางการพัฒนางานไปในทิศทางเดียวกัน มีการปรับปรุงระบบการนิเทศและติดตามงาน 3) การบริหารที่ดีและถูกต้อง: การมีความเป็นธรรมในองค์กร มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามความถนัดและความสามารถของตนเอง มีแนวทางการบริหารงานเชิงรุกและสู่การปฏิบัติตามหลักนิติธรรม รู้ประมาณในปัจจัย 4 เกิดความเป็นธรรมในองค์กร มีระบบควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงที่ดี 4) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: มีการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มีนวัตกรรมและแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ มีการใช้และพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการและบริหารทรัพยากรในการจัดการความรู้และการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และ 5) การสร้างวัฒนธรรมองค์กร: มีการสร้างทีมด้วยค่านิยม ความผูกพันธ์ สร้างขวัญกำลังใจในการทำงานอย่างมีคุณภาพต่อเนื่อง รู้จักวัฒนธรรมองค์กรและสร้างอัตลักษณ์ที่ใช้ร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียวกัน มุ่งคุณภาพของผลงานสูง ไว้วางใจ กระจายอำนาจ พัฒนาวิชาชีพ และมีความรู้ความเข้าใจร่วมกันในสิ่งที่คาดหวัง

References

ชวนพิศ สิทธิ์ธาดา. “รูปแบบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล”. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.

ทิศนา แขมมณี และภาษิต ประมวลศิลป์ชัย. ประสบการณ์และกลยุทธ์ของผู้บริหารในการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ปกรณ์ศิลป์ พริ้นติ้ง, 2547.

พสุ เตชะรินทร์ และคณะ. การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพฯ: วีชั่น ฟริ้นท์ แอนด์ มีเดีย. 2549.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ทิศทางการศึกษาไทย, กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547.

พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน, ระวิง เรืองสังข์. "การปฏิรูปการศึกษาโดยอาศัยแนวคิดทางการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)". วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม–เมษายน 2564).

ศิริรัตน์ ชุณคล้าย. “การพัฒนาองค์ประกอบเพื่อการเป็นโรงเรียนสมรรถนะสูงในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดกาญจนบุรี”. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (กันยายน–ธันวาคม 2562).

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. Determining Sample Size for Research Activities. 1970.

Holbeche, L. The High Performance Organization. London: Elesevier, 2005.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2024