การประยุกต์ใช้หลักปาปณิกธรรมกับการบริหารองค์กรสมรรถนะสูงในโลกยุคใหม่

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี เข้มแข็ง -

คำสำคัญ:

การบริหารองค์กร, องค์กรสมรรถนะสูง, ปาปณิกธรรม, โลกยุคใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอการประยุกต์ใช้หลักปาปณิกธรรมกับการบริหารองค์กรสมรรถนะสูงในโลกยุคใหม่ โดยผู้นำมีบทบาทพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันขององค์กร มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบุคลากร พัฒนาความเป็นผู้นำขององค์กร เพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กรสามารถนำมาบูรณาการกับหลักปาปณิกธรรมในพระพุทธศาสนา คือ 1) ด้านจักขุมา (มีวิสัยทัศน์กว้างยาวไกล) ผู้บริหารหรือผู้นำองค์กรมีสายตามองเห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งการบริหารเชิงกลยุทธ์ การสร้างองค์กรเครือข่าย การมีวัฒนธรรมองค์กร การมีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และมีหลักการบริหารที่ดีและถูกต้องให้เท่าทันสอดรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในกระแสโลกยุคใหม่ 2) ด้านวิธูโร (เชี่ยวชาญในการทำงานที่ดีของผู้นำ) ผู้นำองค์กรมีทักษะในการทำงานที่ดี เปิดกว้างและสร้างวัฒนธรรมองค์กร การเปลี่ยนองค์กรไปสู่นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีหลักการบริหารที่ดีและถูกต้อง โปร่งใสตรวจสอบได้ พัฒนาองค์กรให้พร้อมรับและมีสมรรถนะที่สูงในโลกปัจจุบันอย่างมีคุณภาพ และ 3) ด้านนิสสยสัมปันโน (มีทักษะการสื่อสาร มีมนุษยสัมพันธ์ดี) ผู้บริหารองค์กรสมรรถนะมีทักษะการสื่อสาร มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการสร้างองค์กรเครือข่ายให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สอดคล้องกับการบริหารเชิงกลยุทธ์บนพื้นฐานความมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีและถูกต้อง

References

ธงชัย สมบูรณ์. “โลกหลังยุคใหม่ อนาคตทางการศึกษามละบัญญาของชาติ”. Matichon Online. 31 ธันวาคม 2560. https://www.matichon.co.th/columnists/news_783896.

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ทิศทางการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมจิตฺโต). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิตญาณเมธี (บัวอ่อน). “การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกิจการนิสิตสมรรถนะสูงของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย”. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (แปล). นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.

โลกนี้มีคนอื่น. "โลกยุคใหม่ที่ล้ำเทคโนโลยีและวัฒนธรรมเสวนาวงกาแฟ". MGR Online. 4 พฤษภาคม 2559. https://mgronline.com/columnist/detail/9590000044851.

วารุณี ภูมิศรีแก้ว. “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงของเทศบาลนครอุดรธานี”. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม–เมษายน 2564).

ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. “การพัฒนายุทธศาสตร์องค์กรสมรรถะสูงของสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดสำนักงานคณะกรรมการดารอุดมศึกษา”. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

สรรเพชญ โทวิชา. “การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสมรรถนะสูงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา”. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2560.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2553.

Frank Buytendik. “Five Key to Building High Performance Organization”. Business Performance Management Magazine. (February 2006).

Holbeche, L. The High-Performance Organization: Creating Dynamic Stability and Sustainable Success. Oxford: Elsevier Butterworth Heinemann, 2005.

Prosoft HCM, “การบริหารความเปลี่ยนแปลงจากยุคเก่า สู่ยุคใหม่”, สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567, https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/15619/%.

Waal, A. A. D. "The Characteristics of a High-Performance Organization". Business Strategy Series. Vol. 8 No. 3 (2007).

Roffey Parks Institute. High Perfrmance Workplaces. (2007). http://www. roffeypark.com/hpo.html.

Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G. & Osborn, R. N. Organizational behavior. 7th ed. Boston: McGraw-Hill, 2000.

Waal, A. A. D. “The Characteristics of a High-Performance Organization”. Business Strategy Series. Vol. 8 No. 3 (2007).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2024