แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะตามหลักพุทธธรรมของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • วีรยุทธ วงษ์เขียว -

คำสำคัญ:

ส่งเสริมกิจกรรม , จิตสาธารณะ , พุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะตามหลักพุทธธรรมของนักเรียน และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะตามหลักพุทธธรรมของนักเรียน มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 302 คน และแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียน พบว่า การจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะทั้ง 3 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ ได้แก่ (1) ด้านจิตสาธารณะในตนเอง นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ประพฤติตัวเหมาะสม (2) ด้านจิตสาธารณะต่อผู้อื่น ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ (3) ด้านจิตสาธารณะต่อสังคม เคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวม ช่วยเหลือการงานของครอบครัว
2) วิธีการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะตามหลักพุทธธรรมของนักเรียน ด้วยการสร้างจิตสำนึกปลูกฝังตั้งแต่เยาว์วัยจากครอบครัว จากครู และบุคคลรอบข้าง ให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนในห้องเรียน ทำหน้าที่กัลยาณมิตรคอยช่วยเหลือชักชวนกันทำความดี สร้างวินัยในตนเอง กล่าวถ้อยคำสุภาพ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย รู้ขอบเขตสิทธิเสรีภาพในฐานะพลเมืองของประเทศ
3) แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะตามหลักพุทธธรรมของนักเรียน จัดวันทำความสะอาดห้องเรียน ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมกับชมรมโรงเรียน กิจกรรมแบ่งปันและบริจาค เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้สมบัติของส่วนรวม สนับสนุนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในงานบ้านและช่วยเหลือครอบครัว จัดกิจกรรมที่เน้นให้มีส่วนร่วมอภิปรายและเข้าใจในระบบการปกครอง การเลือกตั้ง สร้างโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาในทักษะด้านต่างๆ และจัดสัมมนาจิตสาธารณะ พร้อมทั้งคอร์สธรรมะ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ แล้วนำไประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังสอดคล้องกับความรู้ใหม่ที่ได้จากงานวิจัย คือ MYS Model = My-You-Social (จิตสาธารณะต่อตัวเอง-ต่อผู้อื่น-ต่อสังคม)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/27/2023