การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบคัมภีร์พระบาลี: กรณีศึกษาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ผู้แต่ง

  • พระมหาธัญสัณห์ กิตฺติสาโร นิสิตหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาทวี มหาปญฺโญ ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมคิด เศษวงศ์ ภาควิชาพระพุทธศาสนา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

วิเคราะห์เปรียบเทียบ, ธัมมจักกัปปวัตตนสูตตร, คัมภีร์พระบาลี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการของคัมภีร์พระบาลี 2) เพื่อศึกษาโครงสร้างเนื้อหาของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในคัมภีร์พระบาลี 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงตัวเลข เชิงไวยากรณ์ เชิงความหมายของคัมภีร์พระบาลีจากพระไตรปิฎกบาลี 4 สายจารีต โดยใช้ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นกรณีศึกษา การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารชั้นปฐมภูมิคือพระไตรปิฎกบาลี 4 สายจารีต ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นมาและพัฒนาการของคัมภีร์พระบาลีแบ่งเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคมุขปาฐะ ยุคจารจารึกและยุคจัดพิมพ์ โดยคัมภีร์พระบาลีเริ่มมีการจัดโครงสร้างอย่างชัดเจนตั้งแต่การสังคายนาครั้งที่ 1 และมีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของคัมภีร์ทุกครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำสังคายนาครั้งที่ 1–3 2) ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรมีโครงสร้างเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ บทนำ หลักธรรมและบทท้าย หลักธรรมแม่บทของพระสูตรนี้ คือ อริยสัจ 4 ส่วนหัวใจของการปฏิบัติธรรมคืออริยมรรคมีองค์ 8 ที่เป็นมรรคสมังคี 3) เนื้อหาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรจากพระไตรปิฎกบาลีทุกสายจารีตมีความแตกต่างกันทั้งหมด 33 แห่ง คิดเป็น 5.56% ในจำนวนนี้มีความแตกต่างด้านการแบ่งส่วนเนื้อหา 2 แห่ง คิดเป็น 6.06% มีความแตกต่างทางด้านไวยากรณ์ 22 แห่ง คิดเป็น 66.67% มีความแตกต่างทางด้านความหมาย 9 แห่ง คิดเป็น 27.27%

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2023