ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน พนักงานตรวจรับบัตรโดยสารของบริษัทการบิน

ผู้แต่ง

  • บุญญาพร นราปัญญากุล นิสิตปริญญาโทสาขาพุทธจิตวิทยา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต สาขาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์ สาขาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยา, ความพึงพอใจ, การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มี 2 วัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพนักงานตรวจรับบัตรโดยสารของบริษัทการบินว่าอยู่ในระดับใด (2) เพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจรับบัตรโดยสารของบริษัทการบิน มีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานตรวจบัตรโดยสารของบริษัทการบิน จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบประเมินค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ 

ผลการวิจัยพบว่า

(1) พนักงานตรวจรับบัตรโดยสารของบริษัทการบิน มีปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านฉันทะ(ความพอใจ) รองลงมาเป็นด้านวิมังสา(ใคร่ครวญหาเหตุผล) และระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

(2) ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจรับบัตรโดยสารของบริษัทการบินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยด้านวิมังสา มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจรับบัตรโดยสารของบริษัทการบินสูงที่สุด ส่วนปัจจัยทางพุทธจิตวิทยาสามารถทำนายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจรับบัตรโดยสารของบริษัทการบิน”  คือ ด้านวิมังสา สามารถทำนายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจรับบัตรโดยสารของบริษัทการบินได้ ร้อยละ 21.8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2023