การจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรมของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • พระมหาศุภชัย ปิยธมฺมชโย (ติวาปี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ผศ. ดร.ระวิง เรืองสังข์ ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รศ. ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การศึกษา, หลักสาราณียธรรม, โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอการจัดการศึกษาตามหลักสาราณียธรรมของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นแนวทางจัดการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียน และการบริหารจัดการให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและช่วยกันผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จด้วยความเต็มใจ
ผลการศึกษาพบว่า การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 ได้แก่ 1) เมตตากายกรรม 2) เมตตาวจีกรรม 3) เมตตามโนกรรม 4) สาธารณโภคี 5) ศีลสามัญญตา และ 6) ทิฏฐิสามัญญตา กับองค์ประกอบการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 5 ด้าน ได้แก่ นโยบาย การบริหาร บุคลากร วิชาการ และการเงิน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรเป็นด้านหลัก คือ ผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ นักเรียน และผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการนำหลัก สารานียธรรม 6 ในการบริหารจัดการงาน ตนเอง และการประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดี มีวาจาสุภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ รับฟังความเห็นของผู้อื่น เสียสละ แบ่งปัน ทำงานเป็นทีม ปฏิบัติตามระเบียบกติกาขององค์กร มีเป้าหมาย และร่วมกันปฏิบัติงานจนบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างราบรื่น

References

ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. ปรัชญา 201 พุทธศาสน์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2538.

ธมฺมจรถ. “ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อีกหนึ่งความหวังของเด็กไทย”. MGR Online. 8 มกราคม 2551. https://mgronline.com/dhamma/ detail/9510000002343.

ปรัชญา เวสารัชช์. ชุดฝึกอบรมผู้บริหาร: ประมวลสาระ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 2550.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562”. ราชกิจจานุเบกษา. 1 พฤษภาคม 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 57ก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (แปล) เล่ม ๑–๔๕. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

วิชัย ตันศีริ. อุดมการณ์ทางการศึกษา ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คำอธิบายและระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ, 2549.

สุจินตนินท หนูชู. “รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่มีประสิทธิผล”. สุทธิปริทัศน์, ปีที่ 28 ฉบับที่ 86 (เมษายน–มิถุนายน 2557).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/29/2024