แนวทางสร้างความสุขคนวัยทำงานด้วยหลักพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • ปทิตตา วิเศษบุปผากุล บริษัท บ้านสายสวรรค์ จำกัด, นครราชสีมา
  • รศ. ดร.สิริวัฒน์ ศรีเครือดง ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ผศ. ดร.สุวัฒสัน รักขันโท ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สร้างความสุข, คนวัยทำงาน, หลักพุทธจิตวิทยา

บทคัดย่อ

ประชากรวัยทำงานเป็นประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นผู้นำครอบครัว เป็นผู้ดูแลประชากรกลุ่มวัยต่าง ๆ ภายในครอบครัว แต่เนื่องจากภาวะการณ์แข่งขันที่สูง วิถีชีวิตเร่งรีบ ทำให้ขาดการละเลยดูแลสุขภาพของตัวเอง ประกอบกับความกดดันจากสภาพภายในตนและสภาพแวดล้อมรอบตัว ก่อให้เกิดความเครียดและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพประชากรกลุ่มวัยทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ และสุขภาพแข็งแรง ดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งเสนอแนวทางการสร้างความสุขสำหรับคนวัยทำงานด้วยหลักพุทธจิตวิทยา
ผลการศึกษาพบว่า แนวทางสร้างความสุขคนวัยทำงานด้วยหลักพุทธจิตวิทยา เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจความรู้ทางจิตวิทยา ความสุขของคฤหัสถ์ และหลักธรรมอริยสัจ 4 แนวทางนำไปประพฤติปฏิบัติ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เพื่อเป็นแนวทางสร้างความสุข จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริงและมั่นคงยั่งยืนนั้นจะต้องประกอบด้วยความสุขทางปัญญาเป็นพื้นฐาน เนื่องจากความสุขทางปัญญา ทำให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข เมื่อคนวัยทำงานยึดหลักธรรมอริยสัจ 4 ในการทำงาน การมีทัศนคติต่อตนเองเชิงบวก รับรู้ และยอมรับทั้งด้านดีและด้านไม่ดีของตนเอง รวมทั้งพึงพอใจชีวิตที่ผ่านมา ประเมินตนเองตามมาตรฐานที่ตนเองตั้งไว้ ความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ เนื่องจากการมีวุฒิภาวะ การดำเนินชีวิตอย่างมีจุดหมาย มีความต้องการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดความสุขย่อมทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์ ก้าวผ่านได้ทุกปัญหาด้วยปัญญา เมื่อทำความเข้าใจวิเคราะห์ต้นเหตุ ย่อมนำพาไปพบความสุข บุคคลสามารถเสริมสร้างความสุขได้โดยการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้ง 3 ประการ คือ รู้สึกพึงพอใจกับชีวิตให้มากขึ้น รู้และเข้าใจตนเอง ใส่ใจในสิ่งที่ทำและให้ความสำคัญกับสัมพันธภาพและมิตรภาพ รวมทั้งการทำให้ชีวิตมีคุณค่า และมีความหมายมากขึ้นจนถึงผลลัพธ์ในชีวิตทั้งความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติงาน และแนวทางหลักพุทธจิตวิทยาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้สามารถจัดการความเครียด สลายความวิตกกังวล สร้างความสุขคนวัยทำงานได้

References

รายการอ้างอิง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและ เคหะ.

สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567. จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/pop/สำมะโน

ประชากร.aspx

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ. (2562). รอบรู้สุขภาพวัยทำงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567. จาก

https://dopah.anamai.moph.go.th/webupload/8x6b2a6a0c1fbe85a9c274e6419fdd6071/m_magazine/24466/970/file_download/c39 3c23642965ded6ad582c3ea599a8a.pdf

เจตน์ รัตนจีนะ. (2566). สุขภาพจิตวัยทำงาน. ฝ่ายเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกร์

สภากาชาดไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567. จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/working-age-mental-health/

ฐานข้อมูลกลางกรมอนามัย. (2566). วัยทำงาน. กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูล กองแผนงาน กรมอนามัย กระทรวง

สาธารณสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567. จากhttps://dohdatacenter.anamai.moph.go.th/index.php?r=groupdata/index&group=1&id=3

พงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ. (2566). ข้อมูลกรมสุขภาพจิตพบวัยแรงงานมีความเครียดสูง. HFocusเจาะลึกระบบ

สุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567. จาก

https://www.hfocus.org/content/2023/04/27584

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12.

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.

มหาเถรสมาคม. (2549). พระไตรปิฎกภาษาไทย พุทธศักราช 2549 (ฉลองสิริราช สมบัติครบ 60 ปี)

เล่มที่ 21 ข้อ 62 หน้า 114. (อันนนาถสูตร)

วุชธิตา คงดี. (2563). สถานการณ์ “โรคปัจจุบัน” ของกลุ่มคนวัยทำงานใน “โลกปัจจุบัน”. ภาควิชา

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. สืบค้นเมื่อ

วันที่ 5 มีนาคม 2567. จาก https://www.ohswa.or.th/17675458/health-promotion-for-

jorpor-series-ep2

สมเด็จพระพุทํโฆษาจารย์ (ป.อ.ประยุตฺโต). (2564). พุทธธรรม ฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 56. โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด. หน้า 777.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). จำนวนประชากร

จำแนก ตามสถานภาพแรงงานและเพศ เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2565. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567. จากhttp://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/02.aspx สำนักงานสถิติแห่งชาติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/29/2024