แนวทางการพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
Unity, Phrapariyattidhamma Educational Management, Saraniyadhamma, Phranakorn Si Ayuttayaบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอ คือ 1) ศึกษาสภาพหลักความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมของพระสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาวิธีการพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์ 3) เสนอแนวทางพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระเบียบวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยแจกแบบสอบถามพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 225 รูป และ แบบสัมภาษณ์ โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1) สภาพหลักความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของพระสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านจากมากไปหาน้อยพบว่า หลักสูตร ครูผู้สอน การจัดการเรียนการสอน การใช้สื่ออุปกรณ์และการประสานงาน ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การวัดผลและการประเมินผล ตามลำดับ
2) วิธีการพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า สื่อและครูผู้สอน อยู่ในระดับดีมาก แต่ควรศึกษาเรื่องการทำสื่อช่วยสอนและเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในด้านต่างๆ สร้างรูปแบบที่หลากหลาย เพิ่มครูให้มีจำนวนเพียงพอ นำครูมารวมสอนในอำเภอเดียวกันเพื่อแก้ปัญหาการขาดครูสอน
3) แนวทางพัฒนาความเป็นเอกภาพด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตามหลักสาราณียธรรมของพระสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้านการวัดผลและประเมินผล งบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ควรมีการทบทวนงบประมาณด้านการส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสงฆ์อย่างจริงจังและเร่งด่วนเพื่อให้เพียงพอในการดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตและช่วยเหลือสังคมยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
บัญชายุทธ นาคมุจลิน. “รูปแบบการพัฒนาศาสนาทายาทที่พึงประสงค์ในพระพุทธศาสนา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระครูศรีกิตติวรากร. “เรื่องการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ฝ่ายธรรมศึกษาสำนักเรียนคณะจังหวัดนนทบุรี ภาค 1”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2551.
พระมหามานิต มานิโต (สกลหล้า). “สภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมในจังหวัดชลบุรี”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2551.
พระมหาสมบัติ อาภากโร (ระสารักษ์). “การจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการคณะสงฆ์. คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.
พระมหาสุทัศน์ อุตฺตโร (จันอากาศ). “การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระปริยัติธรรมแผนกธรรม ของสำนักศาสนศึกษาในเขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น”. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน–ธันวาคม พ.ศ. 2566).
พระอธิการแพร สุมงฺคโล (บุตรสองคอน). “การบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทย”. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม 2563).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฎราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรฎฺฐเตปิฎกํ 2552. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2552.
สุนทร โคตรบรรเทา. การบริหารการศึกษา หลักการและทฤษฎี (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน, 2560.