การส่งเสริมสมรรถนะการให้การปรึกษา ของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาตามแนวพุทธจิตวิทยา
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสมรรถนะ, พุทธจิตวิทยา, การให้การปรึกษา, นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอการส่งเสริมสมรรถนะการให้การปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาด้วยหลักทางพุทธจิตวิทยา จากการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาที่ทำหน้าที่สอดส่องดูแลและคอยให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่เพื่อนนักเรียน โดยการดูแลชี้แนะอย่างใกล้ชิดจากครูแนะแนว โดยนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษามีคุณลักษณะและความสามารถในการให้ความช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจ และรับรู้เรื่องราวปัญหาของตนเองตามความเป็นจริง สามารถหาแนวทางในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม ประกอบด้วยสมรรถนะ 3 ด้าน คือ ความรู้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษา, เจตคติเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา และทักษะในการให้คำปรึกษาแก่เพื่อน การนำหลักพุทธธรรม อันได้แก่ “กัลยาณมิตรธรรม 7” ซึ่งเป็นคุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือผู้ที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ เข้าไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษานำไปใช้กับเพื่อนที่เข้ามาปรึกษา ที่มีความทุกข์ ด้วยความเมตตา หวังดี ใส่ใจในปัญหาสุขทุกข์ของเขา ชวนใจให้เขาเข้าไปฟังไปปรึกษา อบอุ่น ปลอดภัย เป็นที่พึ่งได้ รู้จักชี้แจงแนะนํา ให้รู้เข้าใจชัดเจน แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า และร่าเริง และเป็นที่ปรึกษาที่ดี พร้อมที่จะรับฟังคําซักถามคํา ไม่เบื่อหน่าย มีความอดทน
References
กฤตวรรณ คำสม. “การศึกษาและการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาในการให้คำปรึกษาแก่เพื่อน”. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554.
กลุ่มพัฒนาระบบแนะแนว สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, เอกสารคู่มือสำหรับนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา, 2564.
ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี. และจินตกานต์ สุธรรมดี. “การประยุกต์ใช้สมรรถนะ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2560). 263.
ชญานิษฐ์ แสงทิพย์ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร ยุภาพร ยุภาศ และสัญญา เคณาภูมิ. “สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด - ขอนแก่น - มหาสารคาม - กาฬสินธุ์”. วารสาร ว.รมน. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม–เมษายน 2557), 169–180.
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์, 2550.
นพพร แสงทอง, พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์, สกล วรเจริญ. “การเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาของนักเรียนเพื่อนที่ปรึกษาโดยการฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา”. วารสารวิจัยทางการศึกษา. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2564).
พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ (ธนิกกุล). “โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะการปรึกษาแนวพุทธจิตวิทยาของพระสงฆ์ด้านการเยียวยาจิตใจผู้ป่วย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (แปล). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, https://dictionary.orst.go.th/.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2565.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์, 2549.
Cowie, H., & Sharp, S. Peer Counselling in schools a time to listen. London: David Fulton, 1996.
Crinella F.M. and Yu. J. Brain mechanisms: Papers in memory of Robert Thompson. New York: Academy of Sciences, 1993.
David C. McClelland. “Identifying Competencies with Behavioral-event interviews”. Psychological Science. Vol. 9 No. 5 (1998). 331–332.
ExeQserve Corporation. The Iceberg and why you need to build your competency model. https://exeqserve.com/iceberg-need-build-competen cy-model-ed-ebreo.
Gerard Egan. The Skilled Helper: A Problem-management Approach to Helping. Brooks/Cole Publishing Company, 1994.
Kleinke. C. L. Common Principles of Psychotherapy. CA: Pacific Grove Brooks/Cole, 1995.
McClelland, D. C. “Testing for Competence Rather than for “Intelligence”. American Psychologist. Vol. 28 (1973). 1–14. http://dx.doi.org/10.1037/h0034092
R.E. Boyatzis; Bruss. A.J. “The Heart of Human Resource Department: Counseling Competencies”. Case Western Reserve University, Consortium for Research on Emotional Intelligence in Organization. www.eiconsortium.org.
T. O. Arudo. Peer Counseling Experience Among Selected Kenyan Secondary Schools. 2008. https://www.kapc.or.ke/downloads/Arudo,%20Tobias%20Opiyo%20Okeyo.pdf.