การศึกษาสถานการณ์มาตรการปลอดภัยสําหรับองค์กร (COVID Free Setting) ตลาดประเภท 1 พื้นที่เขตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ภูไทย กมลวารินทร์

คำสำคัญ:

มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร, ตลาดประเภท 1, พื้นที่จังหวัดปทุมธานี, การศึกษาสถานการณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นวิธีหลักและใช้การวิจัยเชิง คุณภาพเป็นวิธีเสริม โดยประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีการวิเคราะห์ SWOT Analysis เพื่อศึกษาสถานการณ์ มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) สำหรับตลาดสด ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดสภาพ สิ่งแวดล้อมปลอดเชื้อโควิด (COVID-Free Environment) 2) ด้านผู้ให้บริการปลอดโรค สุขภาพดี (COVID-Free Personnel) และ 3) ด้านผู้ใช้บริการสุขภาพดี ไม่มีโรค (COVID-Free Customer) และเพื่อ จัดทำข้อเสนอแนะในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับตลาดประเภท 1 พื้นที่จังหวัดปทุมธานี สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นตลาดประเภท 1 ที่พบผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 7แห่ง และผู้บริหารตลาด จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) สำหรับตลาดสดและแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารตลาด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เชิง เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ตลาดที่ผ่านมาตรการครบทั้ง 3 ด้าน มีจำนวน 6 แห่ง (85.7%) เมื่อจำแนกราย ด้านพบว่า ด้านผู้ให้บริการปลอดโรค สุขภาพดี (COVID-Free Personnel) ผ่านมากที่สุด จำนวน 5 แห่ง (72.4%) และพบว่าตลาดมีแผนในการจัดการและปรับปรุงตลาดตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ผู้จำหน่ายสินค้า ในตลาดสวมหน้ากากอนามัยไม่ถูกวิธี ส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อโควิด 19 ตลาดควรมีการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) อย่างเคร่งครัด และมีการกำกับติดตามโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด 19 รองรับ สถานการณ์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ

References

กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. เข้าถึงได้จาก https://ddc.

moph.go.th/covid19-dashboard/

กรมควบคุมโรค. (2564). กรมควบคุมโรคแนะประชาชนที่กำลังทยอยเดินทางกลับหลังปีใหม่ ยึดหลัก

D-M-H-T-T เพื่อป้องกันตนเองจากโรคโควิด 19. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.

go.th/brc/news. php?news=16434&deptcode=brc

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2564). คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ทาง

ห้องปฏิบัติการ. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/guidelines/G37.

pdf?fbclid=IwAR0Vd1kdtx QpgQmXLNDFYQifJFJKJHtbiTpeL5E7RUbAv8REhkCCJHzoo

กรมประชาสัมพันธ์. (2564). กรมอนามัย แนะตลาด ยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 มากขึ้น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27