การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

การเตรียมบทความเพื่อส่งตีพิมพ์ใน

วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ (คลิ๊ก ดาวน์โหลด เป็น PDF)

นโยบายการตีพิมพ์ในวารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ เพื่อให้การตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานสากล เป็นประโยน์อย่างแท้จริง ทั้งผู้เขียนหรือผู้ส่งและผู้ใช้ประโยชน์ จากบทความวิจัยหรือบทความวิชาการเหล่านั้น รวมทั้งนักวิชาการของสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (บริษัท เอชอาร์ดีไอ จำกัด) ในการจัดทำวารสาร ทั้งนี้สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์คําแนะนําในการส่งบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารไว้ ดังนี้ 

1. หลักเกณฑ์โดยทั่วไป

1.1 บทความที่รับตีพิมพ์ในวารสาร ประกอบด้วยบทความดังต่อไปนี้

1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นําเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน การบริหารธุรกิจ พุทธศาสนา บริหารการศึกษา การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชิงประยุกต์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน การบริหารธุรกิจ พุทธศาสนา บริหารการศึกษา การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชิงประยุกต์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

3) บทความปริทัศน์ (Review article) เป็นบทความวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่หรือบทความวิชาการในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) บทความที่เขียนขึ้นเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือหรือตําราทางวิชาการเล่มใดเล่มหนึ่งอย่างเป็นวิชาการ หนังสือหรือตําราดังกล่าวต้องมีเนื้อหาในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

1.2 บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

1.3 ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคํานึงถึงจริยธรรมทางวิชาการ ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กําหนดความซ้ำของผลงาน โปรแกรม CopyCat เว็บ Thai๋JO และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ หรือ Turnitin Program ในระดับไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์

1.4 บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารได้ผ้านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) เปิดรับบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอก

1.5 การคัดลอกเนื้อหาต่างๆในวารสาร กองบรรณาธิการวารสารไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ขอให้อ้างอิงแสดงที่มา

1.6 กองบรรณาธิการวารสารกําหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ ดังต่อไปนี้

- ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน

- ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม

 2. รูปแบบของการจัดพิมพ์บทความต้นฉบับ

2.1 บทความวิชาการไม่เกิน 15 หน้า และบทความวิจัยไม่เกิน 20 หน้า กระดาษ A4 (นับรวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ตั้งค่าหน้ากระดาษ โดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กําหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และ เว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า เนื้อหาบทความ ย่อหน้า 1.25 ซม. ให้พิมพ์ชิดขอบซ้ายขวา (กระจายแบบไทย) ขนาดตัวอักษร 16 หมายเลขหน้าให้ใส่ไว้ตำแหน่งล่างขวาตั้งแต่ต้นจนจบบทความ ให้มีเลขนำหัวข้อใหญ่และหัวข้อรอง โดยเลขนำให้เริ่มต้นที่บทนำ ให้แสดงดังนี้

     1.//หัวข้อใหญ่

           1.1//หัวข้อรองลำดับที่ 1

                   1.1.1//หัวขอรองลำดับที่ 2

                   1.1.2//หัวขอรองลำดับที่ 2

                              1)//หัวขอรองลำดับที่ 3

                                     (1)//………………

2.2 การนําเสนอรูปภาพ ต้องมีความคมชัด พร้อมระบุหมายเลขกํากับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา ขนาดอักษร 16 จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ เช่น ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย หรือ Figure 1 Conceptual Framework ระบุลําดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคําอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นําเสนอ

2.3 การนำเสนอตาราง ให้มีเส้นแนวนอน ไม่มีเส้นแนวตั้ง พร้อมระบุหมายเลขกํากับตารางไว้ด้านบน พิมพ์เป็นตัวหนา ขนาดอักษร 16 จัดชิดซ้ายหน้ากระดาษ เช่น ตางรางที่ 1

2.4 ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลางหน้าแรก ขนาดอักษร 18 (ตัวหนา)

2.5 ชื่อผู้เขียนทุกคนต้องระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเขียนชื่อทุกคนไว้บรรทัดเดียวกัน ภาษาไทยหนึ่งบรรทัด ภาษาอังกฤษหนึ่งบรรทัด เว้นวรรคระหว่างชื่อคนต่อมา และใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) ไว้ท้ายชื่อนามสกุลผู้เขียนหลัก เขียนชื่อสังกัดหรือหน่วยงานของผู้เขียนทุกคนแยกคนละบรรทัดเรียงตามลำดับก่อนหลังตามชื่อผู้เขียน ตามด้วยเขียนอีเมล์ของผู้เขียนหลักเท่านั้น พิมพ์ไว้ตรงกลางหน้าแรกขนาดอักษร 16 (ตัวหนา)  

2.6 บทคัดย่อต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (Abstract) ขนาดอักษร 16 โดยมีเนื้อหาสรุปสาระสำคัญของบทความอย่างครบถ้วน ย่อหน้า 1.25 ซม. ให้พิมพ์ชิดขอบซ้ายขวา (กระจายแบบไทย) มีจํานวนคําระหว่าง 250 - 300 คํา 1 ย่อหน้า

2.7 กําหนดคําสําคัญ (Keywords) 3 - 5 คํา ภาษาไทยให้เว้นวรรคระหว่างคำ ภาษาอังกฤษ ใช้ “,” คั่นระหว่างคํา และคำสำคัญ จัดพิมพ์ต่อจากชื่อคำสำคัญ ขนาดอักษร 16 ไม่เว้นบรรทัด

2.8 การใช้ตัวเลข คําย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิคทั้งหมด ใช้คําย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคําเต็มไว้ในครั้งแรก)

2.9 หัวข้อย่อยของบทความ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

2.9.1 บทความวิจัย ให้เรียงลําดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract) เว้นระยะ 1 เว้นระยะ 1 บรรทัดจากอีเมลล์ เขียนความสําคัญ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัย และข้อค้นพบใหม่จากการวิจัย สั้นกะทัดรัดได้ใจความ ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีมี Infographic ให้นำเสนอไว้ในส่วนของบทคัดย่อ

2) บทนํา (Introduction) เขียนระบุความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาในการวิจัย โดยมีการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ มีข้อความจริงและแหล่งที่มีของข้อมูลอย่างชัดเจน

3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective) เป็นการระบุจุดมุ่งหมายของการศึกษา ให้ครอบคลุมเฉพาะประเด็นที่นําเสนอเพื่อตีพิมพ์ ที่ตรงและสอดคล้องกับนําเสนอในบทความเท่านั้น

4) กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework) ชี้แจงความเชื่อมโยงตัวแปรต้นตัวแปรตามในการทำวิจัย

5) ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) (ถ้ามี) ที่ครอบคลุมทฤษฎีและบทความที่ผู้วิจัยใช้ในการทำวิจัยนี้

6) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) ระบุแบบแผนการวิจัย ว่าเป็นรูปแบบเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ หรือแบบผสม การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง การกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัย การตรวจเครื่องมือและผล วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และนําเสนอข้อมูล อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

7) ผลการวิจัย (Research Finding) การนําเสนอควรเสนอผลอย่างชัดเจน ตรงประเด็น โดยอาจมีรูปภาพ ตารางและแผนภูมิประกอบเท่าที่จําเป็น มีรูปแบบที่เข้าใจง่ายต่อการอ่านและการติดตามการนําเสนอของผู้เขียน มีการอธิบายข้อสังเกตที่เด่นชัดจากผลการวิจัย     

8) อภิปรายผล (Discussion) อธิบายชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อๆ โดยการใช้การอ้างอิงในรูปแบบการสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับงานวิจัยอื่น

9) สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ (Conclusion, Suggestion) ให้เสนอเป็นความเรียง อธิบายเหตุผลของการเกิดผลการวิจัย ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด มีข้อเสนอแนะ เช่น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะสําหรับการปฏิบัติ และข้อเสนอแนะสําหรับการทําวิจัยต่อไป

10) เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการอ้างอิงที่มีปรากฏในเนื้อหาบทความเท่านั้น มีความครอบคลุมในเนื้อหาของบทความทั้งหมด เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือตามหลักการทางวิชาการ

2.9.2 บทความวิชาการ ให้เรียงลําดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract)

2) บทนํา (Introduction)

3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสําคัญที่ต้องการนําเสนอตามลำดับ

4) สรุป (Conclusion)

5) เอกสารอ้างอิง (References)

2.9.3 บทความปริทัศน์ ให้เรียงลําดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract)

2) บทนํา (Introduction)

3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสําคัญที่ต้องการนําเสนอตามลำดับ

4) สรุป (Conclusion)

5) เอกสารอ้างอิง (References)

2.9.4 บทวิจารณ์หนังสือ ให้เรียงลําดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract)

2) สรุปเนื้อหาสาระสําคัญ (Summary of key contents)

3) บทวิจารณ์ (Review)

4) สรุป (Conclusion)

3. ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ

เอกสารที่นํามาใช้ในการอ้างอิงบทความ ควรมีที่มาจากแหล่งตีพิมพ์ที่ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ สามารถสืบค้นได้ เช่น หนังสือ วารสาร หรืองานวิจัย เป็นต้น ผู้เขียนบทความจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการอ้างอิง เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ หรือการถูกปฏิเสธการตีพิมพ์จากกองบรรณาธิการวารสารหรือผู้ทรงคุณวุฒิ

รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายบทความ ใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ APA (American Psychological Association) ฉบับพิมพ์ ครั้งที่ 7 (APA 7th edition) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและปีที่ตีพิมพ์กํากับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิงโดยการกรอกข้อมูลอ้างอิงใน           ฟังก์ชั่นการอ้างอิง ของโปรแกรม Microsoft Word 2010 เป็นต้นไป เอกสารอ้างอิงที่ใช้อ้างอิงในเนื้อเรื่องบทความ จะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความหรือบรรณานุกรมทุกรายการ

การอ้างอิงท้ายบทความให้เรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้เขียน โดยให้เรียงรายการอ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษไว้ก่อนอ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย

4. หลักเกณฑ์การส่งต้นฉบับบทความเพื่อได้รับการตีพิมพ์

การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของวารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการได้ที่ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/ เมื่อส่งเข้าระบบสำาเร็จให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทาง Email : iidmj.hrdi@gmail.com

  • บทความการวิจัย ต้องเป็นบทความที่มีความน่าเชื่อถือตามหลักการวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นไปตามหลักการทําวิจัยในระดับสากล
  • เป็นบทความที่เรียบเรียงใหม่เพื่อการนําเสนอประเด็นข้อค้นพบในการวิจัยหรือนําเสนอแนวคิดใหม่ทางวิชาการ
  • การเขียนบทบความต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กําหนดโดยวารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ โดยเคร่งครัด

 5. ขั้นตอนการนําบทความลงตีพิมพ์ลงในวารสารด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทความต้นฉบับที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.docx  หากต้นฉบับประกอบด้วย ภาพ ตาราง หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสาร ในรูปแบบไฟล์ภาพ สกุล *.PDF*.JPG*.GIF หรือ *.bmp กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคํานึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสมมีการพิจารณาเกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไขเบื้องต้น ก่อนจะนำส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา เมื่อผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่าน หรือไม่ผ่าน หรือมีการแก้ไข หรือปฏิเสธการพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ ทั้งนี้กองบรรณาธิการวารสารฯ มีกระบวนการ ขั้นตอนการส่งบทความตีพิมพ์ ตามกรอบระยะเวลาทั้งหมด 12 สัปดาห์

 6. สิทธิของบรรณาธิการ

ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่บทความวิจัยบทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ไม่ตรงกับแนวทางของวารสารด้านสังคมศาสตร์ หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสาร ลิ้งค์ฉบับที่นําบทความลงตีพิมพ์พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ

 7. ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กองบรรณาธิการวารสาร บริษัท เอชอาร์ดีไอ จำกัด

23/360 ซอยหัวหิน94 ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110 

E-mail: iidmj.hrdi@gmail.com Tel.: 082-2579676 Fax: 032-908448

 

บทความวิจัย

บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นําเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน การบริหารธุรกิจ พุทธศาสนา บริหารการศึกษา การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชิงประยุกต์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน การบริหารธุรกิจ พุทธศาสนา บริหารการศึกษา การพัฒนาชุมชม การพัฒนาสังคม รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชิงประยุกต์ รวมถึงสหวิทยาการอื่น ๆ ในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทความปริทัศน์

บทความปริทัศน์ (review article) เป็นบทความวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่หรือบทความวิชาการในด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

บทวิจารณ์หนังสือ

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) บทความที่เขียนขึ้นเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือหรือตําราทางวิชาการเล่มใดเล่มหนึ่งอย่างเป็นวิชาการ หนังสือหรือตําราดังกล่าวต้องมีเนื้อหาในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ