การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเขตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อัศนัย ทวีสาร

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี  เพื่อให้ได้แนวทางการพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานีให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาคือ ค่าจำนวน ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่า t-test และ F-test  

ผลการศึกษาพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และ 4) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผลการทดสอบสมมติฐานระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี พบว่า ประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี ที่มีเพศ อายุ ระดับ การศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และอัตราเงินเดือนต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานีไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งนี้ ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามนโยบายการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี ควรสร้างแรงจูงใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดของประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานีให้มากยิ่งขึ้น และ ควรสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการให้เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

References

กรวิทย์ เกาะกลาง วินิจ ผาเจริญ และ วัชระ ชาติมนตรี. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีศึกษาเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 2(1), 1-11.

พระครูสังฆรักษ์ทรงพรรณ ชยทตฺโต. (2565). การสร้างเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดของคณะสงฆ์ในภาคกลาง. วารสารศิลปะการจัดการ. 6 (1),236-251

วนัสญพร โทเวียง. (2562). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน / ชุมชน กรณีศึกษา : ตำบลแวงน้อย อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นจาก https://conference.kku.ac.th/colaimg/files/articles/16590-o-37-.pdf

โอภาส ซาลู และ เฉลิมพร เย็นเยือก. (2565). ผู้นำชุมชน กับการมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี.

Armstien, S.R. (1969). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Institute of Planners, 35(4).

Cohen, J.M. , & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

Putti. (1987). Work values and organizational commitment: A study in the Asian context. Human Relations, 4(2).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27

How to Cite

อัศนัย ทวีสาร. (2022). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ, 2(2), 34–43. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/984