การสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยของแรงงานนอกระบบในเมืองท่องเที่ยว กรณีศึกษาเมืองพัทยา

ผู้แต่ง

  • อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี

คำสำคัญ:

ความต้องการที่อยู่อาศัย, แรงงานนอกระบบ, เมืองท่องเที่ยว, เมืองพัทยา

บทคัดย่อ

กรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) โดยในด้านสังคมที่ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เนื่องจากประเทศไทยยังเผชิญความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ประกอบกับที่อยู่อาศัยนับเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ ดังนั้นการสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยของแรงงานนอกระบบในเมืองพัทยา และปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัย โดยสำรวจแรงงานนอกระบบ จำนวน 148 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบล และ 2 อำเภอ ผลการสำรวจ พบว่า แรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 85.80 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย ทั้งนี้ความต้องการที่อยู่อาศัยของแรงงานอกระบบในเมืองพัทยา พบว่า ความคาดหวังด้านที่อยู่อาศัยของแรงงานนอกระบบในเมืองพัทยา ได้ 3 รูปแบบ คือ 1 การซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง 2 การเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมโดยการเช่า และ 3 การซื้อหรือเช่าที่เพื่อปลูกที่อยู่อาศัยให้เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัย คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผลการสำรวจในครั้งนี้สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องและสามารถตอบสนองกับความต้องการของแรงงานนอกระบบ เพื่อเสริมสร้างโอกาสและความเสมอภาค สามารถเข้าถึงโอกาสในการเสริมสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยทีได้มาตรฐาน ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในระดับราคาที่สามารถรับภาระได้

References

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์. (2561). รายงานสถานการณ์ธุรกิจที่อยู่อาศัย ไตรมาส 2/2566 ทิศทางตลาดปี 2560 – 2561. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2561). แรงงานนอกระบบ สวัสดิการยามชราและการออม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจและสังคม ไตรมาสที่ 3 ปี 2566. (2566). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานการสำรวจภาวะสังคม ปี 2566. (2566). กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-16