การประเมินคุณค่าศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง: สถาบันปลูกป่าเเละระบบนิเวศ ปตท.

ผู้แต่ง

  • อิทธิศักดิ์ จิราภรณ์วารี

คำสำคัญ:

การประเมินคุณค่า, แนวคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยา, ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง

บทคัดย่อ

การประเมินคุณค่าศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง: สถาบันปลูกป่า เเละระบบนิเวศ ปตท. โดยทีมวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) ร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม (Observation) ของผู้เยี่ยมชมโครงการ จำนวน 5 คน ข้อค้นพบที่เกิดขึ้นจากการศึกษาคุณค่าป่าในกรุง พบว่า คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน และระดับที่มีคุณค่าเพิ่ม ครอบคลุมทั้งหมด 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยที่การดำเนินโครงการก่อให้เกิดคุณค่าด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมเป็นขั้นพื้นฐาน มากไปกว่านั้นก่อให้เกิดคุณค่าที่เพิ่มขึ้นในด้านเศรษฐกิจโดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการให้คุณค่าป่าในกรุงที่แตกต่างกัน คือ ประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูล ความรู้เรื่องป่าในเมือง การเข้าไปสัมผัสป่า รูปแบบความสัมพันธ์ และระดับทางสังคมที่มีความแตกต่างกันส่งผลให้สร้างคุณค่าของโครงการป่าในกรุงที่เพิ่มขึ้น ทำให้การให้ความหมายของป่าในเมือง และคุณค่าของป่าต่างกัน รวมถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้ให้ข้อมูลที่หากมีประสบการณ์เกี่ยวกับป่าส่งผลให้เกิดการคิดวิเคราะห์ในเชิงการตีความคุณค่าของป่าในกรุงในอีกมุมมองหนึ่ง ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงข้อมูลสำคัญที่นำไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ส่งผลให้เกิดการดำเนินการของธุรกิจอย่างยั่งยืน

References

Antle, J. E., Fernandez-Cornejo, J. A., & Just, R. E. (2012). Sustainable value assessment: A framework for integrating economic, social, and environmental values. Ecological Economics, 74(1), 46-56. doi:10.1016/j.ecolecon.2011.09.002

Mitchell, N. J., McQuillan, S. J., & Sayer, J. A. (2006). Assessing the sustainability of ecosystem services: Challenges and opportunities. Nature, 443(7109), 996-1000. doi:10.1038/nature05254

Wilson, D. S., Just, R. E., & Antle, J. E. (2018). Sustainable value assessment: A review of methods and applications. Annual Review of Resource Economics, 10(1), 1-29. doi:10.1146/annurev-resource-102317-022348

ศศิธร ศรีวิไล. (2565). ทัศนคติของชุมชนต่อศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง: กรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริชัย ศรีสุข. (2566). การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง: กรณีศึกษาศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรเดช แก้วงาม. (2566). การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของศูนย์การเรียนรู้ป่าในเมือง: กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ป่าในกรุง สถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อาริสา ใบเงิน. (2559). แนวทางในการดำเนินนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ): มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29