ความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กชพร เลาหเจริญ

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์, การปฏิบัติงาน, องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปทุมธานี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดปทุมธานี จําแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และอัตราเงินเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้คือบุคลากรสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปทุมธานี จํานวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test (Independent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยค่าสถิติ F-test

ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดปทุมธานีโดยรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลําดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านความคิดริเริ่มในการทํางาน รองลงมา คือ ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดคล่อง และด้านที่มีระดับความคิดสร้างสรรค์เป็นอันดับสุดท้าย คือ ด้านความคิดละเอียดลออ และผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดปทุมธานีจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และอัตราเงินเดือน พบว่า บุคลากรสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดปทุมธานี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทํางาน และอัตราเงินเดือนต่างกัน มีความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน

References

ณัฐกานต์ ภูมิคอนสาร. (2565). ทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่หล่นหายไปของผู้เรียนกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21. Education Journal, 5(1), 1-9.

ภาสกร เรืองวานิช. (2555). หลักการจัดการพัฒนาสายงานอาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ลูกน้ำ บุญชัย และ มานพ ชูนิล. (2015). ความคิดเชิงสร้างสรรค์และความรับผิดชอบในงานที่พยากรณ์ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 10(28), 143-158.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2019). ความคิดสร้างสรรค์. สืบค้นจาก https://designtechnology.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/83/2019/01/A1.pdf

สมมาตร บุญเพียร. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐตามโมเดล Thailand 5.0. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 10(2), 41-51.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). คู่มือประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สุนทร ทองกำเนิด . (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์4.0. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรีย์พร พึงไชย. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพฯ , มหาวิทยาลัยศรีปทุม. สืบค้นจาก http://dspace.spu.ac.th/bitstream/A2.pdf

Baron & May. (1960). Psychology the essential science. Boston: Renslaer Polyte.

Guilford, J. P. (1950). Creativity. New York: McGraw – Hill.

Osborn, A. F. (1963). Creative Imagination (3rd ed.). New York: Charles Scridners Sons.

Smith, C. T. (1987). Evaluation answer to comprehension questions. The Reading Teacher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30