ทัศนคติด้านธรรมาภิบาลของบุคลากร กรณีศึกษาสภาผู้แทนราษฎร
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, ธรรมาภิบาล, บรรยากาศองค์การบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านบบรรยากาศองค์การและระดับทัศนคติด้านธรรมาภิบาลของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบรรยากาศองค์การกับทัศนคติด้านธรรมาภิบาลของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้สารสนเทศสำคัญนำมาประกอบเป็นแนวทางการดำเนินงานให้สำเร็จอย่างมีคุณค่ายิ่งขึ้นต่อไป โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 334 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนด
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเห็นต่อบรรยากาศองค์การภายในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีความเห็นต่อบรรยากาศองค์การด้านโครงสร้างองค์การในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการควบคุม ด้านการสนับสนุน ด้านการให้รางวัล และด้านความเจริญก้าวหน้า ตามลำดับ ส่วนระดับทัศนคติด้านธรรมาภิบาลพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อธรรมาภิบาลอยู่ในภาพรวมระดับมาก โดยมีทัศนคติด้านธรรมาภิบาล ในหลักคุณธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ และด้านหลักความมีส่วนร่วม ตามลำดับ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับทัศนคติด้านธรรมาภิบาล พบว่ามีความสัมพันธ์ในระดับสูง (r = .835) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งนี้ผู้บริหาร บุคลากร และเจ้าหน้าที่ ควรวางแผนกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามเป้าหมายให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันอย่างยั่งยืน
References
กระทรวงยุติธรรม. (2562). สารสนเทศกระทรวงยุติธรรม. วารสารยุติธรรม, 19(4), 7442.
เฉลิมพร เย็นเยือก. (2565). การสื่อสารในองค์การ. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
ชล บุนนาค. (2020). Effective governance : แนวคิดเกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.sdgmove.com/2019/09/30/effective-governance/
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541). 100 ปี แห่งการปฏิรูประบบราชการ: วิวัฒนาการของอำนาจรัฐและอำนาจการ เมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา.
พระครูวิมลภาณ รัชตมงคลชล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการ วัดตามหลักธรรมาภิบาล (วิทยานิพนธ์). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ภูริทัต บุญเจือ. (2564). ธรรมาภิบาลในการบริหารทรัพยากรบุคคล กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเหมือง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วีรวิท คงศักดิ์. (2555). คุณธรรมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : แว่นแก้ว เอ็ดดูเทนเมนท์
สมยศ นาวีการ. (2539). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). หลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบการจัดสรรสิ่งจูงใจ ประจําปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สุพรรณี พิกุลทอง. (2559). ความคาดหวังต่อบรรยากาศองค์การของบุคลากรสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.