ความสำเร็จในการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กรณีศึกษาตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สุนีย์ พุฒวันเพ็ญ
  • เฉลิมพร เย็นเยือก

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ความสำเร็จ, กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชุนเมือง ตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชุนเมือง ตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานีให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาทำให้ให้ได้สารสนเทศสำคัญนำมาประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาความสำเร็จในการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 140 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนด

ผลสรุปการทดสอบสมมติฐานพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกองทุนหมู่บ้านมีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุน หมู่บ้านและชุมชุนเมือง ตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานีทั้งในภาพรวม และ รายด้าน โดยการวิเคราะห์ผลการถดถอย (Multiple Regression Analysis) ในภาพรวม ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุนหมู่บ้าน ประกอบด้วย ด้านการตัดสินใจ ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการดำเนินกิจกรรม และ ด้านการประเมินผล มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี โดยพบว่ามีความสัมพันธ์แบบพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.000 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.762 และมีค่าพยากรณ์ (R Square) ได้ร้อยละ 58 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน  (Standard Error of estimate) เท่ากับ .574 ทั้งนี้ผู้บริหารรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการดำเนินงานในทุกขั้นตอนให้เป็นไปอย่างเป็นระบบในทุกขั้นตอนการมีส่วนร่วมซึ่งมีความสำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้เข้มแข็งและเติบโตยิ่งขึ้นต่อไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ

References

เฉลิมพร เย็นเยือก. (2565). การสื่อสารในองค์การ. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

เทศบาลตำบลบางเดื่อ. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561-2564). สืบค้นจาก http://www.bangduea.go.th/files/dynamiccontent/file-92403-15229313461735718814.pdf

พิณผกา วงษ์แสน. (2558). บทบาทของคณะกรรมการในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบล ทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.

วิชุดา สร้อยสุด และ โชติ บดีรัฐ. (2565). แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านของคณะกรรมการกองทุนในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล กรณีศึกษา กองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลศรีนคร อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 8(2) พฤษภาคม-สิงหาคม. 399-413

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2565). สารสนเทศสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. สืบค้น http://www.villagefund.or.th/contact

สุนทร ปัญญะพงษ์ และคณะ. (2562). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษ ากองทุนหมู่บ้านช่อระกา ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการ มจร.บุรีรัมย์. 4(2): 27-37.

สุภาชนก เหล็กกล้า และ ปราโมทย์ ประจนปัจจนึก. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 39(2).กค.-ธค.2556. น.109-119.

สุวลังก์ วงศ์สุรวัฒน์. (2562). การบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับดีมาก กรณีศึกษา จังหวัดนครปฐม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร. 7(3): 890–898.

อทิติ ศิลาณรงค์. (2554). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/454406

Arnstein, S.R. (1971). A Ladder of Citizen Paticipation. New York : Classic McGraw-Hill.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Rural Development Participation. New York : Concepts and measures for project design implementation and evaluation.

Huntington, S. & Nelson, S. (1975). No easy choice: political participation in developing countries. New York: Harvard University Press.

Millet, J.D.(1954). Management in public Services : the Quest of Effective Performance. New York : McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05