คุณภาพการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหนือเมือง
คำสำคัญ:
คุณภาพการบริการสาธารณะ, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการบริการสาธารณะที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหนือเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด รูปแบบการวิจัยเป็น การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดคุณภาพการบริการสาธารณะ ของ Parasuraman เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือตำบลเหนือเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนผู้อาศัยในเขตตำบลเหนือเมือง จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างโดยไม่ใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็น แบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐานสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่าการบริการสาธารณะ ทั้ง 4 ด้านคือ ด้านขั้นตอนการบริการ ด้านช่องทางการบริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านขั้นตอนการบริการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนคุณภาพการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหนือเมือง ใน 5 ด้าน คือ 1) การให้บริการอย่างเสมอภาค 2) การให้บริการตรงต่อเวลา 3) การให้บริการอย่างเพียงพอ 4) การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และ 5) การให้บริการอย่างก้าวหน้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่องมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ทั้งนี้ ปัจจัยด้านการบริการสาธารณะทุกด้านส่งผลต่อคุณภาพการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลเหนือเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรรักษาและพัฒนาระดับคุณภาพการบริการสาธารณะขององค์การให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม อันจะส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างประชาชนและองค์การภาครัฐ ซึ่งจะทำให้เกิดการร่วมมืออย่างเข้มแข็งในการดำเนินงานร่วมกันต่อไปในอนาคต
References
กระทรวงมหาดไทย, 2565. สารสนเทศกระทรวงมหาดไทย. สืบค้นจาก https://moi.go.th/moi/
เกษา ใจดี. (2557). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการจัดทำการบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลวังใต้ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง (Unpublished Master Thesis). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่.
บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์. (2558). ศักยภาพการบริหารการพัฒนาของเทศบาล กรณีศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย. ปีที่ 7(2) พฤษภาคม-สิงหาคม 2558. 109-131
สุนารี แสนพยุห์. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. พระนครศรีอยุธยา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุวัฒน์ บุญเรือง. (2545). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลสุนทรภู่ กรณีศึกษาด้านการจัดเก็บรายได้ (Unpublished Master Thesis). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
องค์การบริหารส่วนตำบลเหนือเมือง. (2564). สารสนเทศองค์การบริหารส่วนตำบลเหนือเมือง. สืบค้นจาก http://nuemueng.go.th/
Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Gronroon, C. (1984). A service quality model and its marketing implications. European : Journal of Market.
Lewis, M. & Bloom, P. (1983). Organization Behavior. New York : McGraw Hill.
Millet, J.D. (1954). Management in the public service. New York : McGraw-Hill.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. & Berry, L.L. (1990). An empirical examination of relationships in an extended service quality model. New York : Free Press.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.