ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19กรณีศึกษาองค์การบริการส่วนตำบลเหนือเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิริยะ พานิชกิจ
  • เฉลิมพร เย็นเยือก

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุข, ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน, สมรรถนะการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 2) เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คืออาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 106 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ประกอบการนำเสนอผลสรุปด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา  ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านความถูกต้อง ชอบธรรม และจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.97  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .409 2. ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .433 3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในภาพรวม พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับค่อนข้างต่ำถึงระดับค่อนข้างสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01    

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ และ แนวปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชี่ยวชาญให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบได้อย่างมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน

References

คันศร แสงศรีจันทร์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาล ตำบลบานดู่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

จำเนียร จวงจระกูล. (2531). การประเมินผลการปฏิบัติงาน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอ.เอส พริ้นติ้งเฮาส์.

จันทร์ทา มั่งคำมี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการ ภาครัฐแนวใหม่. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: K&B BOOKS.

นูไรฮัน ฮะ. (2562). ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เพ็ญศรี โตเทศ. (2563). การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 4.0 ภาคเหนือ ปี 2561. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. นครสวรรค์ : ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคเหนือ.

อรธิรา พลจร. (2563). สมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อรธิรา พลจร. (2563). สมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่ง ในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 4(2): 93-100.

สิริวดี ชูเชิด. (2565). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน). น.223-238.

Herzberg Frederick and others. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.

Vroom, V. H. (1964). Work and motivation. New York: John Wiley & Sons.

McClelland, D.C. (1973) Testing for Competence Rather than Intelligence. American Psychologist, 28,1-14. https://doi.org/10.1037/h0034092

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04

How to Cite

พานิชกิจ ว. ., & เย็นเยือก เ. . (2024). ผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19กรณีศึกษาองค์การบริการส่วนตำบลเหนือเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ, 4(1), 1–12. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/656