คุณภาพบริการสาธารณะ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สิรินทรา เทพพานิช
  • เฉลิมพร เย็นเยือก

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการสาธารณะ, ความพึงพอใจ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนด้านคุณภาพการบริการ สาธารณะและระดับความพึงพอใจในคุณภาพการบริการสาธารณะของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดปทุมธานี และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการสาธารณะกับความพึงพอใจในคุณภาพการบริการสาธารณะของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดปทุมธานี  เพื่อให้ได้สารสนเทศสำคัญนำมาประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะได้อย่างมีคุณค่า ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนผู้ใช้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนด

ผลสรุปความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R=.448*)  โดยคุณภาพการบริการด้านการเข้าพบได้ง่ายและมีความยืดหยุ่นในการให้บริการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกว่าด้านอื่น  (r=.546*)  รองลงมาคือ คุณภาพการบริการด้านทัศนคติและพฤติกรดรมของผู้ให้บริการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r=.513*)  และ น้อยที่สุดคือคุณภาพการบริการด้านความไว้วางใจและความเชื่อมั่นความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อย (r=.318*) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งนี้ผู้บริหารรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการให้บริการด้านสุขภาพ ที่สอดคล้องกับบริบท สภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ.2561-2565. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานการวิจัย เรื่องความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559.

กาญจนา คงวารี. (2556). ความคาดหวังและการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขต อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. นครปฐม, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เฉลิมพร เย็นเยือก. (2565). การสื่อสารในองค์การ. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชมนาด ม่วงแก้ว. (2555). ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการงานกิจกรรม นักศึกษา และงานทะเบียนนักศึกษา. ปทุมธานี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทิพย์สุคนธ์ ศรีลาธรรม. (2559). คุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอ บ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. ปทุมธานี, ปทุมธานี.

พระสุนทร ธมฺมธโร (บุญคง). 2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง. พระนครศรีอยุธยา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Millet, J.D.(1954). Management in public Services : the Quest of Effective Performance. New York : McGraw-Hill.

Ware J.E. Jr, Davies-Avery,A. and Stewart A.L. (1978). The measurement and meaning of patient satisfaction. Health Med Care Serv Rev. Jan-Feb;1(1):1, 3-15.

Taylor, D. G., Aday, L. A., & Andersen, R. (1975). A social indicator of access to medical care. Journal of Health and Social Behavior, 16(1), 39–49.

Penchansky, R. & Thomas, J.W. (1981) The concept of access: Definition and relationships to consumer satisfaction. Medical Care, 19, 127-140.

Gronroos, C. (1990) Service Management and Marketing: Managing the Moments of Truth in Service Competition. Lexington Books, Lexington.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05