ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำงานระบบทางไกลของพนักงาน กรณีศึกษา พนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง

ผู้แต่ง

  • แสงระวี สว่างเนตร
  • เฉลิมพร เย็นเยือก

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, การรับรู้, การทำงานระบบทางไกล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำงานระบบทางไกลของพนักงาน กรณีศึกษา พนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง 2) เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาในการทำงานระบบทางไกลในอนาคต ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานการท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 300 ตัวอย่าง ใช้สถิติพรรณาและสถิติอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการสรุป และอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้กำหนดไว้

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานของพนักงานท่าอากาศยานดอนเมืองระดับปานกลาง และ ปัจจัยด้านการรับรู้ในการทำงานระบบทางไกล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานของพนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง ในระดับค่อนสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยผู้บริหารควรเสริมสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม  ควรมีการสร้างแรงกระตุ้นจูงใจให้กับพนักงานให้มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน และ รักษาระดับความสัมพันธ์กับพนักงานในทุกระดับไว้อย่างใกล้ชิดถึงแม้จะมีสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถเข้าพบกันได้ก็ตาม จึงควรต้องใช้ระบบเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานขององค์กร เพื่อจักได้นำไปปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). 'Work From Home' คืออะไร ช่วยให้รอดจาก 'โควิด-19' ได้อย่างไร. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/872368?fbclid=IwAR2JGMeKRaC468mdLA3M1-NOoHBsC6WehZaNCaWs3w1CQLlfmFwkXVOBkpU

กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้น https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

คณะรัฐมนตรี. (2563). มาตรการ 6 ด้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27430

เฉลิมพร เย็นเยือก. (2565). การสื่อสารในองค์การ. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

ชาลิณี ฐิติโชติพณิชย์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกล (Telework) ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (2553). องค์กรแห่งความเป็นเลิศที่ยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก http:// www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/ opinion/teerayout/20100929/355442/องค์กรแห่งความเป็น เลิศที่ยั่งยืน.html

ปุริศ ขันธเสมา. (2563). ความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านในช่วงโควิดระบาด โควิด-19 ของกลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยสยาม.

มนัสนันท์ ศรีนาคาร และ พิชิตเทพสมบัติ. (2553). การทำงานทางไกลและที่บ้าน Telework and Work at Home. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 6(1), 109-108.

ยง ภู่วรวรรณ. (2564). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การทำงาน. สืบค้นจาก https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=2

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์.

ลักษิกา นุชอุดม. (2564). ทัศนคติและความพึงพอใจของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ประเทศไทยต่อรูปแบบการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงสถานการณ์วิกฤต COVID-19. กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธีระฟิล์มและไซเท็กซ์จำกัด.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 13(3), 319-340. Retrieved from JSTOR database.

McClelland, D.C., (1985). Human motivation. Chicago: Scott, Foresman.

McKinsey Global Institute. (2563). ศักยภาพ Work From Home สะท้อนความพร้อมของประเทศ. สืบค้น https://brandinside.asia/what-quality-of-work-from-home-means/

Workplace. (2564). การทำงานจากทางไกลจะเป็นอย่างไรในอนาคต. สืบค้นจาก https://th-th.workplace.com/blog/the-future-of-remote-work

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

สว่างเนตร แ., & เย็นเยือก เ. . (2023). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำงานระบบทางไกลของพนักงาน กรณีศึกษา พนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง. วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ, 3(1), 25–37. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/578