การประเมินโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืน เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติ จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
การประเมินผลโครงการ, ชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด, การแก้ปัญหายาเสพติดจังหวัดเพชรบุรีบทคัดย่อ
งานวิจัยประเมินผลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโครงการ และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติจังหวัดเพชรบุรี พื้นที่เป้าหมาย 13 ชุมชน จาก 13 หมู่บ้าน ของ 8 อำเภอ ในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม ซึ่งใช้เก็บข้อมูลจากคณะทำงานและชุดปฏิบัติการของโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้โปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยประเมินผล พบว่า การประเมินผลโครงการ เป็นไปตามตัวชี้วัด 4 ด้าน 16 ประเด็น 16 ตัวชี้วัด กล่าวคือ ด้านบริบท 2 ประเด็น 2 ตัวชี้วัด, ด้านปัจจัยนำเข้า 4 ประเด็น 4 ตัวชี้วัด, ด้านกระบวนการ 6 ประเด็น 6 ตัวชี้วัด และด้านผลผลิต 4 ประเด็น 4 ตัวชี้วัด สรุปผลการประเมินตามเกณฑ์ ผ่าน 13 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 81.25 เป็นผลการประเมินโครงการในภาพรวม อยู่ในเกณฑ์มีประสิทธิผลระดับสูง และพบว่ารูปแบบการบริหารโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติจังหวัดเพชรบุรี โดยรวมแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารโครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจรตามยุทธศาสตร์ชาติทุกจังหวัด งานวิจัยประเมินผลนี้มีข้อเสนอแนะ 3 ประการ ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะการนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะการทำการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
References
กลุ่มพัฒนาการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบุรี. (2566). รายงานสถานการณ์ยาเสพติดจังหวัดเพชรบุรี.
https://www.pbipeo.go.th/wp-content/uploads/2024/06/รายงานผลยาเสพติด.pdf
เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และคณะ. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการประเมินการดำเนินงานแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดตามโครงการ “ชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน” ปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้น X-Ray เชิงรุก ๙๐ วัน พื้นที่แพร่ระบาดทั่วประเทศ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชาญศักดิ์ เกิดสุข. (2567). การบริหารโครงการสู่ความสำเร็จอย่างมืออาชีพ วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1. (มกราคม-เมษายน 2567)
สมพิศ สุขวิฑูรย์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการป้องกันการติดสารเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน
ปลายในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ.
(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
สุรสิทธิ์ วชิรขจร. (2549). นโยบายสาธารณะเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ธเนศวร (1999) พริ้นติ้ง.
Burns, N. and Grove, S.K. (2009) The Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis and
Generation of Evidence. WB Saunders, St Louis.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ:
Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.G. and Buchner, A. (2007) G*Power 3: A Flexible Statistical
Power Analysis Program for the Social, Behavioral, and Biomedical Sciences. Behavior
Research Methods, 39, 175-191.
Stufflebeam, D. L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational
Accountability. Journal of Research and Development in Education, 5, 19-25.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.