การปรับตัวของชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • รมย์ธีรา น้อยประเสริฐ Learning Institute For Everyone (LIFE)

คำสำคัญ:

ชาวสวนมะพร้าว ล้งมะพร้าว การปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลาง ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงครามและสมุทรสาคร ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลาง อำเภอเมือง อำเภออัมพวา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม  และอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร รวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล และจำแนกข้อมูล โดยใช้กระบวนการและวิธีวิจัยของการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่าชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามสภาวะการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปและมีการปรับตัวตามสถานการณ์นั้น เรียนรู้แก้ปัญหาโดยใช้ประสบการณ์ ภูมิปัญญา องค์ความรู้ การจัดการ การปรับเปลี่ยนรูปแบบ วิธีการเพื่อความอยู่รอดสอดคล้องกับวิถีที่เปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ระหว่างชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางมีลักษณะความสันพันธ์แบบผสมผสานและมีส่วนร่วมสนับสนุนกันในการสืบทอดอาชีพทำสวนมะพร้าว และด้วยความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างยาวนานเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน เข้าใจกัน ช่วยเหลือกันเกื้อกูลเพื่อให้ผ่านวิกฤตในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการเกื้อหนุนกันเพื่อปรับตัวพัฒนาสู่การผลิตในระบบห่วงโซ่อุปทาน

การปรับตัวของชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางเป็นการปรับตัวให้อยู่รอดในยุค Ai-Robotics พ่อค้าคนกลางมีการปรับตัวให้สอดคล้องมากกว่าชาวสวนมะพร้าว ชาวสวนปรับตัวน้อยและยังเลือกใช้แนวทางแบบเดิมในการทำสวนมะพร้าว ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรชาวสวนมะพร้าวให้สามารถแข่งขันและมีความก้าวหน้ามั่นคงทางอาชีพตลอดจนส่งเสริมโครงการกิจกรรมเพื่อสร้างการตื่นรู้กระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2561). บทบาทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนา ยกระดับวิสาหกิจชุมชนไทย. วารสารพัฒนศาสตร์, 1(1), 220-252.

กุลทัต หงส์ชยางกูร และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (ม.ป.ป.), การสร้างและการบริหารเครือข่าย. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จำนงค์ แรกพินิจ. (2537). แชร์แรงงาน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคใต้. สงขลา : สถาบันทักษิณคดีศึกษา.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2550). เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2551). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ส.เจริญ.

ชลิตา บัณฑุวงศ์ และอนุสรณ์ อุณโณ. (2546). พลวัตเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ตอนบนฝั่งตะวันออก กรณีศึกษา 4 พื้นที่. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์.

ณรงค์ เพชรประเสริฐ และพิทยา ว่องกุล (บรรณาธิการ). (2552). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก.พิมพ์ ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพลส โปรดักส์.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง และคนอื่น. (2564). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการปรับตัวของชาวนาไทยยุค หลังนโยบายจำนำข้าว ปี พ.ศ.2557. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชัย จาวลา. (ผู้บรรยาย). (2020). จุดต่าง VI & ทฤษฎีผลประโยชน์ กับ พิชัย จาวลา. (วีดิทัศน์). กรุงเทพฯ : Money Chat Thailand.

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์, 7(1)

มานะ นาคำ และ สมชัย ภัทรธนานันท์.(2560). ผู้ประกอบการชาวสวนลุ่มน้ำแม่กลอง. วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาไทศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ระพีพรรณ ภู่ผกาพันธ์พงษ์ ตัณฑรัตน์. (2556). เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับวัฒนธรรมไทย, วารสารการอาชีวะและ เทคนิคศึกษา, 3(5), 1-13

รุจเรชา วิทยาวุฑฒิกุล และน้ำทิพย์ วิภาวิน. (2555). การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม กับงานวิจัยทาสารสนเทศ ศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2555

เรณู เล็กนิมิตร และเนาวรัตน์ ผ่องพุทธ. (2565). นำคิด นำทำ อย่างบางคนที. กรุงเทพฯ : สำนักสนับสนุน

สุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

วีรพงษ์ พวงเล็ก. (2560). การแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับผู้ตามและความผูกพันขององค์การของครูโรงเรียน มัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา แผนกแบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศิลปากร

ศิริพงษ์ อุ่นทรพันธุ์ และสัมพันธ์ พลภักดิ์. (2561). การบริหารจัดการการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ชุมชนของ จังหวัดนครนายกตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 11(2), 441-455

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงแรงงาน. (2560). คู่มือผลประโยชน์ทับซ้อนและมาตรการป้องกันการ ทุจริตและประพฤติมิชอบ. กรุงเทพฯ : กระทรวงแรงงาน.

สถาบันวิทยาการจัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด. (2562). เศรษฐกิจสร้างสรรค์. TRIS ACADEMY CLUB MAGAZINE, 23

สงบ ส่งเมือง. (2546). เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ในรอบห้าทศวรรษ. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์.

สรัญญา จุฑานิล. (2556). การบริหารเครือข่ายของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานปฏิบัติการภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์

สิริมา แท่นนิล และปราโมทย์ ประจนปัจจนึก. (2557). การปรับตัวของเกษตรกรจากปัญหาการปลูกมะพร้าวใน เขตอำเภอทับสะแกจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ว.สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 40(1): 114-127 (2557)

สุวรรณี ลัคนวณิช. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล พฤติกรรมการใช้ชีวิต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาที่ใช้ชีวิตในที่พักเอกชน ย่านรังสิต จังหวัดปทุมธานี. ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ. BUACADEMIC REVIEW. Vol. 13 No 1, January – June 2014

เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์

หฤทัย มีนะพันธ์. (2562). ล้งพ่อค้าคนกลางในห่วงโซ่อุปทานมะพร้าวน้ำหอมในตลาดแนวดิ่ง.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่39 ฉบับที่ 2 เดือนเม.ย.-มิ.ย. 2562.

ฤตินันท์ โกมุทสกุณี. (2557). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อวันใหม่ในยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-14

How to Cite

น้อยประเสริฐ ร. (2024). การปรับตัวของชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาชาวสวนมะพร้าวและพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารบริหารการพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการ, 4(2), 1–21. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/IIDMJ/article/view/1427