การพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

การพัฒนาตน, องค์การแห่งการเรียนรู้, พยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • ดวงฤทัย พงศ์ทรัพย์การุณ -

คำสำคัญ:

การพัฒนาตน, องค์การแห่งการเรียนรู้, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

พยาบาลวิชาชีพมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม เพราะพยาบาลเป็นผู้ให้การพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง และมีความเป็นองค์การขนาดใหญ่ เป็นกำลังสำคัญหลักที่จะพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบบริการสุขภาพของไทย บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ พร้อมนำเสนอแนวคิด และแนวทางในการพัฒนาตนเอง ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ วินิจฉัยตนเอง กำหนดเป้าหมาย หาทรัพยากรที่เหมาะสม หาเพื่อน ความอดทนพยายาม ประเมินผล และทฤษฎีการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย การเป็นบุคคลที่รอบรู้ มีแบบแผนความคิด มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เรียนรู้เป็นทีม รวมถึงคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพสามารถนำไปพัฒนาตนเองและพยายามผลักดันให้องค์การของตนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ต้องมีการพัฒนาตนเองในด้านการเรียนรู้ การวินิจฉัยตนเอง การกำหนดเป้าหมาย การหาทรัพยากรที่เหมาะสม การหาเพื่อน ความอดทนและพยายาม การประเมินผล เพื่อก้าวตามให้ทันกับสังคมในยุคนี้ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนด้านภาวะสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของชีวิตได้อย่างครบถ้วน บูรณาการร่วมกับแนวคิดการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยการเป็นบุคคลที่รอบรู้ การมีแบบแผนความคิด การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การเรียนรู้เป็นทีม และการคิดอย่างเป็นระบบ ในการสร้างผลงาน และขยายขอบเขตความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และแสดงออกทางความคิดได้อย่างอิสระ

References

จินตนา วิชญเศรณี. (2561). แนวทางการบริหารการพยาบาลในภาพรวมองค์การพยาบาล. ประจวบคีรีขันธ์: โรงพยาบาลหัวหิน.

ดวงฤทัย พงศ์ทรัพย์การุณ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ปียาภรณ์ แหวะสอน และวิภาพร วรหาร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือม, 31(2), 132-139.

พิชญากร ศรีปะโค. (2557). การพัฒนาวิชาชีพพยาบาล : การพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 1-8.

ศิรินรักษ์ ปัททุม. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้กับการปฏิบัติงานตามชีวิตวิถีใหม่สำหรับพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ของโรงพยาบาลเลิดสิน ถนนสีลม แขวงศรีเวียง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 12(2), 1-16

ศิริพร เลิศวัฒนวิลาศ. (2557). ความคิดเห็นของบุคลากรต่อกระบวนการจัดการความรู้ ของศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สาวิตรี สิงหาด. (2559). เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา 1801 441 ประเด็นและแนวโน้มพัฒนาการของวิชาชีพพยาบาล. อุบลราชธานี: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Megginson, D. & Pedler, M. (1992). Self development: A Facilator,s guide. London:McGraw–Hill.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The art and practice of the learning organization. London: Random House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04