ภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักพุทธธรรมของผู้ปกครองท้องที่ในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, หลักพุทธธรรม, ผู้นำท้องที่ในตำบลป่าแมตบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักพุทธธรรมของผู้ปกครองท้องที่ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักพุทธธรรมของผู้ปกครองท้องที่ และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักพุทธธรรมของผู้ปกครองท้องที่ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พบว่า ระดับภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้ปกครองท้องที่ในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 กับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้ปกครองท้องที่ในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงมาก จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า หลักอิทธิบาท 4 กับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้ปกครองท้องที่ในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน ส่วนปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางการเมืองตามหลักพุทธธรรมของผู้ปกครองท้องที่ในตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบว่า ผู้ปกครองท้องที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาที่ตรงตามหน้าที่การงานยังไม่สามารถให้ความแนะนำในการแก้ไขปัญหาเวลาที่ประชาชนในชุมชนเกิดปัญหา การแบ่งงานกันทำยังไม่มีความชัดเจน การทำงานบางครั้งเป็นการแก้ไขเฉพาะหน้า และยังไม่มีการวางแผนในการทำงานที่เป็นระเบียบการบริหารจัดการงบประมาณของรัฐยังไม่ทั่วถึงแก่ชุมชนมากเท่าที่ควร การปกครองดูแลชุมชนยังไม่มีมาตรการที่แน่นอนเป็นลายลักษณ์อักษร ยังไม่มีกฎระเบียบที่ใช้ในการดูแลความเรียบร้อยภายในชุมชน
References
ปภังกรนิษฐ์ วงษ์ธัญญกรณ์. (2563). พระเทพปริยัติเมธี และอมลวรรณ อบสิน. “ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพพสามิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่พิจิตร สาขาบางมูลนากจังหวัดพิจิตร”. วารสารวิจัยวิชาการ. 3 (1) 85 : 96.
พระอธิการธนิต ธมฺมสาโร (รามโพ) พระเทพปริยัติเมธี และสมคิด พุ่มทุเรียน. (2563).“ภาวะผู้นำเชิงพุทธของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร”. วารสารวิจัยวิชาการ. 3 (2) 15 : 26.
สุรกิจ สุวรรณแกม. (2561). “ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอภาชีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัญชลี กองแก้ว. (2561).“การพัฒนาสมรรถนะการบริหารของผู้บริหารเทศบาลตำบลบางละมุง จังหวัดชลบุรี”. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Bhutanaro. T. Leadership and Community Development. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.gotokhow.org/posts [2 กุมภาพันธ์ 2564].
Hersey and Blanchard. (2000). Management Fundamentals. New York: South - Western College Publishing.
Kongpian, T. Warin. (2018). Chamrap Sheriff Ubon Ratchathani Province. (Interview. March)