การจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาเพื่อนำความสุขสู่ผู้เรียน

ผู้แต่ง

  • วินัย หริ่มเทศ โรงเรียนวังกรดพิทยา

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการชั้นเรียน, ความสุข, ผู้เรียน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดเพียงในห้องเรียนและไม่จำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ การจัดการปัจจัยต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมภายในของสถานศึกษาที่อยู่ในสภาพการเรียนรู้อันจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการเรียนการสอนความสัมพันธ์กับเพื่อนรวมทั้งความสะอาดความเป็นระเบียบของอาคารสถานที่ การจัดอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย สภาพหรือสภาวะสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่รอบตัวที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรืออาจเป็นสิ่งที่ถูกจัดทำสร้างขึ้นอาจเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต กล่าวคือด้านกายภาพทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ควรจัดให้มีความเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อรองรับการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใฝ่เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทำให้ผู้เรียนรู้มีความกระตือรือร้นคนยุคใหม่ต้องใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการได้สัมผัสด้วยตนเองเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สร้างความรู้ความเข้าใจ
และจินตนาการที่ส่งผลเชิงบวกต่อพฤติกรรมตามความสามารถส่วนบุคคล ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้นี้ให้เกิดขึ้นต่อนักเรียนได้นับว่าครูทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชนของประเทศชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความสุข ความเข้มแข็งแก่สังคมและประเทศชาติ ต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการตรวจสอบและประเมินสถานศึกษาเกณฑ์คุณภาพสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและกรมสามัญ. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู.

กิติยวดี บุญซื่อ และคณะ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

ขัชพล ทรงสุนทรวงศ์.(2543). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2562). หลักการบริหารจัดการชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปฏิคม พงษ์ประเสริฐ. (2550). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการในโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองนครนายก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโฒ.

พรรณี ชูทัย. (2522). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: วรวุฒิการพิมพ์. มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2555). คุณลักษณะ 10 ประการของครูพันธุ์ใหม่. เอกสารประกอบการประชุม ครั้งที่ 22 วันที่ 21 มี.ค. 2555. ที่มาจาก: http://www.sammajivasil.net/news11.htm.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1(2), 3-14.

ศุพิธาน์ ริยาพันธ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบสัมพันธภาพความผูกพันและการจัดการชั้นเรียนของครูอนุบาลในกรุงเทพมหานคร. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สวัสดิ์ โนนสูง. (2543). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โอเดียนสโตร.

สันติ บุญภิรมย์. (2557). การบริหารจัดการในห้องเรียน. (Classroom Management). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิล เอ็ดดูเคชั่น .

สำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ. (2544). สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. ยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-04-2025