แนวทางการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดตามหลักพุทธธรรม เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้พักอาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุด, ความพึงพอใจ, ผู้พักอาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดตามหลักพุทธรรมเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับผู้พักอาศัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเน้นการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร ภายใต้กระบวนการศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านการบริหารจัดการอาคารชุด ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดตามหลักพุทธรรมมีหลักการสำคัญ 3 ประการคือ 1) ถูกกฎหมาย คือ ต้องบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบัญญัติอื่นที่นิติบุคคลอาคารชุดร่วมกับเจ้าของร่วมกำหนดขึ้นเพื่อสร้างความสงบสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามหลักเบญจศีล-เบญจธรรม 2) ถูกคน เป็นการบริหารจัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่เกี่ยวข้องกับบุคคลคือสมาชิกในอาคารชุดด้วยความเข้าใจ ใส่ใจ และเต็มใจด้วยการบริการที่ดีเพื่อสร้างความสันติสุข ความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทรระหว่างกัน โดยส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามหลักพรหมวิหาร 4 และ 3) ถูกงาน เป็นบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมให้อยู่ในสภาพดี น่าอยู่ สะอาด สะดวก สบาย เกื้อกูลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามหลักสัปปายะ 7 และองค์ความรู้ใหม่ที่ได้คือ G-LPJ MODEL หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ถูกกฎหมาย ถูกคน ถูกงาน”
References
กรมที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522”. กรมที่ดิน. สืบค้นเมือ 3 มกราคม 2567, https://www.dol.go.th.
กาญจนา อรุณสุขรุจี. “ความพึงพอใจของสมาชิกสหกรณ์ต่อการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรอำเภอไชยปราการ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารเซาธ์อิสท์บางกอก. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม, 2560). 30–39.
กุลิสรา เปล่งศรีเกิด และไพโรจน์ เกิดสมุทร. “คุณภาพการให้บริการของนิติบุคคลอาคารชุดลาซาล์พาร์ค อาคาร A สุขุมวิท 105”. วารสารเซาธ์อิสท์บางกอก. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม, 2560). 30–39.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. “เครื่องชี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย”. Bank of Thailand. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567. https://www.bot.or.th.
ธัญลักษณ์ พุ่มมาก. “การพัฒนาโครงการอาคารชุดระดับสูงในเขตกรุงเทพมหานครของบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี พ.ศ. 2550–2460”. ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์, 2561.
นิศารัตน์ ศิลปเดช. ประชากรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิศิษฐ์การพิมพ์, 2540.
บริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน). “ปัญหากวนใจในคอนโดพร้อมแนวทางแก้ไข”. THE GEN C. 7 สิงหาคม 2560. 2https://www.ananda.co.th.
ปรียากร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: สหมิตรออฟเซต, 2535.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด, 2551.
พัฒนา พรหมณีและคณะ. “แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน, 2563). 59–72.
ไพรพนา ศรีเสน. “ความคาดหวังของผู้รับการบริการต่อการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรไชยปราการจำกัด อำเภอ ไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่”. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด มหาชน, 2556.